BLOGS

ต้องอ่าน! 9 สูตร เป็น “ผู้จัดการยานพาหนะ” ดูแลรถแบบธุรกิจรุ่งได้ด้วย

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

จากโกดังสินค้าสู่มือผู้รับสินค้าปลายทาง สินค้าชิ้นหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งต้องผ่านขั้นตอนและสถานที่ต่างๆ มากมาย ซึ่งเพื่อให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างเรียบร้อยไม่ผิดพลาด งานนี้ต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการขนส่ง ซึ่งเมื่องานมาเกี่ยวข้องกับการใช้รถ ผู้จัดการยานพาหนะ คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนี้

ตำแหน่งผู้จัดการยานพาหนะอาจเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูเท่าไหร่นัก แต่ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งงานที่สำคัญ ที่ไม่เพียงแค่ทำให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่สามารถบริหารจัดการให้การใช้รถถูกต้องและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถให้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ 

หน้าที่ของผู้จัดการยานพาหนะมีอะไรบ้าง และสูตรหรือวิธีเป็นผู้จัดการยานพาหนะที่มีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จในหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงช่วยบริหารต้นทุนธุรกิจได้ด้วยต้องทำอย่างไร ติดตามได้ในบทความคาร์แทรคตอนนี้

ผู้จัดการยานพาหนะ คือใคร มีหน้าที่อะไร?

ผู้จัดการยานพาหนะ หรือผู้จัดการการขนส่ง คือ บุคคลที่ดูแลยานพาหนะใช้งานภายในบริษัทองค์กร รับผิดชอบในการบริหารจัดการการใช้งานยานพาหนะขององค์กร บริหารจัดการซ่อมบำรุงเพื่อให้ยานพาหนะใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งเนื่องจากยานพาหนะ เป็นทรัพย์สินใช้งานประเภทเทคโนโลยี หน้าที่สำคัญของตำแหน่งงานนี้จึงรวมถึงการเสาะแสวงหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานด้วย

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้จัดการยานพาหนะ เป็นตำแหน่งสำคัญของบริษัทหรือธุรกิจ ที่จะช่วยปรับปรุงจุดบกพร่องหรือพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ทั้งในรายละเอียดปลีกย่อยและปัญหาใหญ่ๆ เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุน ความปลอดภัย ไปจนถึงด้านกฎหมายการดำเนินงาน

9 วิธี เป็น “ผู้จัดการยานพาหนะ” ที่ดูแลรถและช่วยบริหารธุรกิจได้ด้วย

  1. มีความเป็นผู้นำที่ดี

    ความเป็นผู้นำที่ดี เป็นคุณสมบัติสำคัญของทุกงานและสถานการณ์ เช่นเดียวกับงานดูแลบริหารยานพาหนะ ผู้จัดการยานพาหนะไม่เพียงแค่ดูแลการใช้ยานพาหนะ

    แต่ต้องสามารถดูแลการทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานของคนขับรถ รับฟังความเห็นหรือข้อโต้แย้ง ให้คำแนะนำหรือทางแก้ไขกับคนขับรถได้ และดูแลบุคลากรภายใต้การดูแลให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่เสริมหรือสร้างจริยธรรมการทำงานได้เป็นอย่างดี
  2. สื่อสารเก่ง

    คนทำงานที่ดีต้องสื่อสารเป็น ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยวิธีการใด และการสื่อสารที่ดี คือ การแสดงออกและรับฟังเข้ามาอย่างสมดุลกัน และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้

    ผู้จัดการยานพาหนะที่ดี ต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจนจนคนในทีมเข้าใจความต้องการ และส่งมอบงานได้ตามที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง
  3. ใช้เทคโนโลยีเป็น

    อย่างที่บอกข้างต้นว่า ยานพาหนะ เป็นสิ่งของใช้งานประเภทเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ผู้จัดการยานพาหนะจึงต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อรู้เท่าทันยานพาหนะที่ดูแลและรู้วิธีการบำรุงรักษากับต่อยอดการใช้งานยานพาหนะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นๆ ด้วย

    ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการยานพาหนะก็เช่น Fleet Management System หรือ Vehicle Management System แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเรียกชือแรก เพราะชื่อหลังมีตัวย่อว่า VMS ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น Vessel Monitoring System หรือระบบติดตามเรือ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นรถหรือเรือ ก็สามารถใช้ Fleet Management System ได้ โดยระบบนี้จะสามารถติดตามพิกัดการใช้งานยานพาหนะและคนขับรถ เพื่อประมวลผลไปใช้ตัดสินใจหรือประเมินก่อนว่าจะดำเนินการกับยานพาหนะต่ออย่างไร ได้ทัน ณ เวลาปัจจุบัน หรือเวลาล่าสุดไม่นานจากเวลาที่ได้ข้อมูลจากการติดตาม
  4. บริหารจัดการได้หลายอย่างในเวลาเดียว

    จัดการรถใช้งาน ส่งรถซ่อมบำรุง ติดตามรถที่ซ่อมบำรุงอยู่ หรือบริหารคนขับรถ ผู้จัดการยานพาหนะควรสามารถจัดการงานทุกอย่างได้พร้อมกัน
  5. จัดการต้นทุนเป็น

    ผู้จัดการยานพาหนะมักมีหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดการยานพาหนะด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ คือ “ต้นทุนธุรกิจ” อย่างหนึ่ง ดังนั้นผู้จัดการฯ ต้องเข้าใจและบริหารต้นทุนให้เป็น เข้าใจในธุรกิจที่ทำ รวมถึงอ่านและตอบรับกับสถานการณ์ของแวดวงธุรกิจได้
  6. ปรับตัวเก่ง

    ความสามารถในการปรับตัว จำเป็นอย่างมากสำหรับงานผู้จัดการยานพาหนะ ที่ต้องบริหารทั้งคนขับรถและยานพาหนะ ยานพาหนะมีอะไรบ้าง มีกี่คัน คนขับรถมีกี่คน แต่ละคนมีนิสัยการทำงานอย่างไร รับมืออุบัติเหตุหรือเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นอย่างไร

    และยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่ความสามารถในการปรับตัวได้ดีจะช่วยให้ผู้จัดการยานพาหนะทำงานได้สำเร็จลุล่วงและต่อยอดการทำงานได้เป็นอย่างดี
  7. คิดงานแบบนักธุรกิจ

    รู้จักแนวทางการบริหารงานและค่าใช้จ่ายขององค์กร ศึกษาและอัปเดตกฎหมายขนส่ง และรักษาความสัมพันธ์ของคนทำงานและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับงาน ช่วยให้ผู้จัดการยานพาหนะเข้าใจการทำงานและปัจจัยแวดล้อมการทำงานที่ช่วยให้การทำงานสำเร็จลุล่วงได้ดี
  8. ปลอดภัยนัมเบอร์วัน

    ความปลอดภัย คือ เรื่องสำคัญของการใช้ยานพาหนะ ไม่ว่าจะสำหรับยานพาหนะหรือคนขับ เพื่อป้องกันความเสียหายและเหตุไม่คาดฝันที่มักนำมาซึ่งความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าหรือคาดการณ์ได้ ผู้จัดการยานพาหนะควรยึดเอาความปลอดภัยเป็นที่ตั้งหรือเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ต้องยึดไว้ในการวางแผนงาน
  9. ทำงานแบบติดตามและวัดผลได้

    การทำงานที่มีเป้าหมาย หมายถึง การทำงานที่ต้องติดตามข้อมูลและวัดผลข้อมูลได้ เพราะหากไม่ติดตามข้อมูลการทำงาน หรือไม่วัดประเมินผลข้อมูล ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า การดำเนินงานที่ทำมาเดินไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เป้าหมายที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ

    ผู้จัดการยานพาหนะจึงควรทำงานแบบติดตามข้อมูล มีบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ตรวจสอบวัดผลได้ ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยติดตามได้

    เช่น GPS ที่มีเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ ที่จะช่วยเก็บรายละเอียดข้อมูลได้แม่นยำด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ช่วยทุ่นแรงการเก็บข้อมูลและลดความผิดพลาดจากคนได้ด้วย รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มา ที่ช่วยชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจหรือปัญหาของยานพาหนะหรือการทำงานของคนขับรถ ที่ผู้จัดการฯ อาจจะยังไม่ทราบได้ด้วย

9 วิธี เป็น “ผู้จัดการยานพาหนะ” ที่ดูแลรถและช่วยบริหารธุรกิจได้ด้วย

5 เคล็ดลับง่ายๆ ช่วยบริหารหรือลดค่าใช้จ่าย ในแผนกขนส่งหรือยานพาหนะ

  1. ติดตามพฤติกรรมการขับขี่

    การใช้รถและวิธีการใช้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการใช้น้ำมันและอายุการใช้งานของยานพาหนะ ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ระบบ Fleet Management บันทึกได้

    ข้อมูลที่ต้องดูก็เช่น การจอดแช่ติดเครื่องยนต์ ขับซิ่งใช้ความเร็ว การเบรกหรือเข้าโค้งกะทันหัน หรือพฤติกรรมหลังพวงมาลัยรถต่างๆ ซึ่งการติดตามไม่เพียงแค่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและยืดอายุการใช้งานยานพาหนะให้ยาวนานขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้การขับขี่ด้วย
  2. เปลี่ยนยานพาหนะใหม่

    ข้อนี้ฟังดูน่าตกใจ เพราะธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าการซื้อยานพาหนะใหม่เป็นการลงทุนก้อนใหญ่ แต่เชื่อไหมว่า การใช้ยานพาหนะเก่าหรือยานพาหนะที่มีชิ้นส่วนชำรุด มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงมาก และอาจสูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยานพาหนะใหม่ ที่ช่วยให้ใช้น้ำมันรถได้คุ้มค่าและใช้รถได้เต็มสมรรถนะกว่าด้วย
  3. ใช้ยานพาหนะให้เข้ากับความต้องการของงาน

    เลือกใช้ยานพาหนะให้เข้ากับความต้องการของงานทั้งประเภทและจำนวนยานพาหนะ ช่วยให้ผู้จัดการยานพาหนะสามารถโฟกัสการบริหารจัดการยานพาหนะได้ถูกต้องมากขึ้น

    เพราะลดเวลาการทำงานเพราะไม่เสียเวลาดูแลรถที่ไม่ใช่รถใช้งานหรือรถที่เกินความต้องการใช้งาน จึงช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  4. ปรับปรุงเส้นทางการขับขี่เป็นประจำ

    การขนส่งอาจจะมีจุดหมายปลายทางเดิม แต่เส้นทางและสภาพการจราจรมีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่เรื่อยๆ การปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเส้นทางการขับขี่ จึงช่วยให้การใช้รถดีขึ้น ทั้งในแง่ของพฤติกรรมการขับขี่และเวลาการใช้รถได้

    ในปัจจุบัน ระบบติดตามรถแบบเทเลเมติกส์สามารถปรับปรุงเส้นทางการขับขี่ให้ได้แบบอัตโนมัติแล้ว ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์จุดหมายปลายทางและสภาพการจราจร ไม่ว่าจะมีงานขนส่งกี่จุดหมายต่อการใช้รถ 1 ครั้ง ระบบก็สามารถวิเคราะห์และประมวลผลออกมาเป็นวิธีการเดินรถที่ดีที่สุดออกมาให้ได้
  5. ใช้รถพลังงานไฟฟ้า (EV)

    จากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ในไทยและทั่วโลกเริ่มหันมาใช้รถบรรทุกหรือรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าหรือ รถ EV มากขึ้น เพราะเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและแนวโน้มนวัตกรรมรถไฟฟ้าที่มีราคาถูกลง ทำให้ธุรกิจเริ่มสนใจใช้รถพลังงานไฟฟ้าในการดำเนินงานมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้ากับนโยบายลดภาวะโลกร้อน ที่เป็นภาพลักษณ์องค์กรที่ดีในมุมมองของลูกค้าและนักลงทุนด้วย

ระบบจัดการยานพาหนะที่เข้ากันได้ดีกับผู้จัดการยานพาหนะมืออาชีพ

ระบบบริหารจัดการยานพาหนะ Cartrack มีเทคโนโลยีติดตามรถแบบเทเมติกส์และ IoT ที่ตรวจสอบ บันทึก และประมวลผลข้อมูลรถ การใช้รถและการใช้น้ำมันแบบเรียลไทม์

ช่วยให้ผู้จัดการยานพาหนะมีข้อมูลรถที่อัปเดตตลอดเวลา มีข้อมูลพร้อมใช้งานเสมอ จนดูแลและใช้รถได้คุ้มค่าและยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้นอย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลรายละเอียดระบบจัดการยานพาหนะสำหรับผู้จัดการยานพาหนะ หรือขอใบเสนอราคา โทรสอบถาม Cartrack ที่ 021362920 , 021362921 ในวันและเวลาทำการ หรือคลิกติดต่อ LINE ที่นี่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่คาร์แทรคติดต่อกลับ

จากโกดังสินค้าสู่มือผู้รับสินค้าปลายทาง สินค้าชิ้นหนึ่งต้องผ่านขั้นตอนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งงานนี้ต้องผู้จัดการยานพาหนะดูแลรับผิดชอบการขนส่ง