BLOGS

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ ลดต้นทุนขนส่งในธุรกิจได้อย่างไร ?

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ (Predictive Analysis) เป็นเครื่องมือทรงพลังที่ธุรกิจต่างๆ ใช้เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพื้นฐานแล้ว เครื่องมือนี้ช่วยให้เข้าใจข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ง่ายขึ้น และเข้าใกล้เป้าหมายความสำเร็จทางธุรกิจได้เร็วขึ้นด้วย

ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ยอดขายของวันพรุ่งนี้หรือระบุว่าสาขาหรือศูนย์กระจายสินค้าใดมีความต้องการสูงสุดเวลาไหน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์จะช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด 

บทความคาร์แทรคตอนนี้มาทำความเข้าใจว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ทำงานอย่างไร ยกระดับเครือข่ายโลจิสติกส์ (Supply Chain) และการดำเนินงานของทีมยานพาหนะขนส่งอย่างไร และธุรกิจจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในธุรกิจของตัวเอง เพื่อเพิ่มประโยชน์ได้อย่างไร

การวิเคราะห์ข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

การวิเคราะห์ข้อมูล มีเพื่อระบุแนวโน้มสถานการณ์ เห็นข้อมูลเชิงลึก และตอบคำถามจากข้อมูลวิเคราะห์ที่เรามีอยู่ในมือ แต่ถึงกระนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลก็ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ในที่นี้เราสรุปไว้ทั้งหมด 4 ประเภท

การวิเคราะห์เชิงบรรยาย: ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น?

สมมติ คุณอยากดูประสิทธิภาพของพนักงานขับรถในบริษัท ย้อนหลัง 3 เดือนที่ผ่านมา การวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive Analytics) จะเน้นเรื่องความเข้าใจว่า ในอดีตที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น

จากกรณีนี้ คุณจะดูข้อมูลการทำงานของคนขับได้ หรือยอดขายแบบมีรายละเอียด

การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย: ทำไมเหตุการณ์เหล่านี้ถึงเกิดขึ้น?

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ยานพาหนะที่ใช้งานเสื่อมสภาพก่อนเวลา หลังจากวิเคราะห์เชิงบรรยายเพื่อให้ได้ข้อมูลแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของยานพาหนะ การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย (Diagnostic Analytics) จะเป็นขั้นตอนต่อไปที่อธิบายว่า ทำไมแนวโน้มเหล่านี้จึงเกิดขึ้น

ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเชิงลึกบอกว่าการเบรกกะทันหันคือสาเหตุว่าทำไมยางจึงสึกก่อนเวลาอันควร เมื่อทราบข้อมูลนี้ ธุรกิจก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกจุดและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนยางก่อนกำหนดได้จริงๆ

การวิเคราะห์เชิงแนะนำ: แล้วต่อไปควรทำอะไร?

ถ้าคุณไม่อยากนั่งเทียนเอาเองว่า ควรตั้งงบประมาณสำหรับจัดการรถในบริษัทเท่าไหร่ดี การวิเคราะห์เชิงแนะนำ (Prescriptive Analytics) เป็นเครื่องมือที่แก้ไขปัญหานี้ให้กับคุณได้

การวิเคราะห์เชิงแนะนำ จะโฟกัสที่การให้คำแนะนำว่าควรทำอย่างไรต่อไป หนึ่ง สอง สาม โดยดูจากข้อมูลและแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอดีต

ตัวอย่างเช่น การตั้งงบประมาณสำหรับปีต่อไป หรือราคาขายสินค้าตัวต่อไปที่จะสร้างกำไรตามที่ต้องการได้ ซึ่งการวิเคราะห์ประเภทนี้มักต้องอาศัย Machine Learning (ML) มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) เพื่อให้คำแนะนำที่มีน้ำหนักตามความเป็นจริง

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์: อะไรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต?

ธุรกิจมีงานขนส่งหวังว่า รถส่งของจะถูกใช้งานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด และเสียหายน้อยที่สุด การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ช่วยให้คุณคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ 

ตัวอย่างเช่น อะไรที่อาจส่งผลให้รถวิ่งไม่ได้ เพื่อให้คุณคิดหาวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น หรือยอดสั่งซื้อจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าแบบนั้น คุณควรจะต้องเตรียมพร้อมมากขึ้นกว่านี้หรือไม่ เช่น เพิ่มรถ เพิ่มคนขับ ปรับวิธีการทำงาน เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์: อะไรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต?

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายโลจิสติกส์ได้อย่างไร?

ก่อนอื่นขอแนะนำคำว่า เครือข่ายโลจิสติกส์ ก่อนว่า คือ Supply Chain ซึ่งมีชื่อไทยว่า ห่วงโซ่อุปทานหรือโซ่อุปทาน แต่ส่วนมากแล้ว คนมักจะใช้คำว่า Supply Chain หรือโลจิสติกส์ไปเลย แทนที่คำไทย

เครือข่ายโลจิสติกส์ หรือ Supply Chain คือ การทำงานร่วมกันของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากผู้จัดหาไปยังลูกค้า

กิจกรรมของเครือข่ายโลจิสติกส์จะแปรสภาพทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งต่อไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้ายหรือผู้บริโภค หรือที่เรียกว่า End Customer/User

กลับมาที่การใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์มาพัฒนาประสิทธิภาพตั้งแต่ขั้นตอนการทำงานไปจนถึงผลลัพธ์งานของ Supply Chain เช่น

  • การจัดการจุดที่ติดขัดในระบบขนส่ง ที่กระทบต่อเวลา แรงงาน หรือแม้แต่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือที่เรียกรวมๆ ว่า Efficiency
  • วิเคราะห์บริการลูกค้าและความพึงพอใจ จากข้อมูลการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่แสดงถึงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อการบริการ โดยเฉพาะจุดที่ลูกค้าไม่พอใจ อยู่ที่จุดไหน ธุรกิจจะสามารถแก้ไขได้ถูกจุด
  • รู้ระดับความต้องการในแต่ละสถานที่ ช่วยให้ธุรกิจบริหารจัดการรถแก่สถานที่นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง จัดสรรทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ไม่มากไปหรือน้อยไป

เบื้องหลังความสำเร็จของการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

การจัดการข้อมูลตั้งแต่การรับเข้าจนถึงส่งออกเพื่อใช้งานเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาที แต่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ก็ยังประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ อยู่ 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. การเก็บบันทึกข้อมูล

ยิ่งระบบเก็บบันทึกข้อมูลได้มากเท่าไหร่ ยิ่งประมวลผลที่มีประโยชน์ได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

2. การส่งต่อ

หลังจากเก็บข้อมูลไว้แล้ว ข้อมูลจะถูกส่งต่อด้วยระบบซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ เพื่อจัดประเภทข้อมูลและตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

3. การประมวลผลและวิเคราะห์

เมื่อข้อมูลพร้อมต่อการใช้งาน ข้อมูลจะถูกประมวลผลด้วยปัจจัยที่กำหนดเป็นผลลัพธ์พร้อมความคิดเห็นเชิงคาดการณ์ที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้จริง

เบื้องหลังความสำเร็จของการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

ถ้าธุรกิจโลจิสติกส์ไม่ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ จะพลาดอะไรมั้ย?

1. พลาดที่จะลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย คือ หัวใจสำคัญในการเพิ่มกำไรจากการลงทุน (ROI) ของธุรกิจ ธุรกิจจะพลาดโอกาสเพิ่มรายได้จากการทำงานที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการเพิ่มราคาสินค้า ที่ส่งผลกระทบได้กับหลายฝ่าย

2. พลาดที่จะรู้ความต้องการของลูกค้า

ธุรกิจจะไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว ลูกค้าต้องการอะไร เมื่อไหร่ หรือที่ไหน และลงทุนไปอย่างไม่คุ้มค่า ใช้ต้นทุนอย่างสิ้นเปลือง

3. พลาดการตั้งราคาขายที่เหมาะสมหรือทำกำไรมากที่สุด

แม้การเพิ่มราคาขายสินค้าหรือบริการจะไม่ใช่สิ่งที่ธุรกิจอยากจะทำ แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการสินค้าสูง ราคาขายสินค้าที่เพิ่มขึ้นอาจไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แถมยังเป็นโอกาสการเพิ่มกำไรของธุรกิจด้วย

ทว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า โอกาสนั้นมาถึงเราแล้ว หากเราไม่มีการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์กับธุรกิจของเรามาก่อน ไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อมาวิเคราะห์มาก่อน 

ความพลาดลักษณะนี้นับเป็นหนึ่งในความผิดพลาดที่ธุรกิจน่าจะไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุดก็ว่าได้

4. พลาดการจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด

ในธุรกิจโลจิสติกส์หรือมีการขนส่ง การจัดการทรัพยากรใช้งาน คือ สิ่งที่สำคัญมากที่กระทบต่อต้นทุนได้ 

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะช่วยให้ธุรกิจรู้ระดับทรัพยากรที่น่าจะต้องใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้ มากน้อยแค่ไหน ช่วยให้ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่สุดแบบมีข้อมูล

5. พลาดการเพิ่มปริมาณการซื้อของลูกค้าแต่ละคน

ธุรกิจที่มีข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าอยู่ในมืออย่างเหมาะสม จะสามารถคาดการณ์สิ่งที่ลูกค้าต้องการและจำนวนเท่าไหร่ หรือสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้สามารถแนะนำสิ่งที่คิดว่าลูกค้าต้องการหรือน่าจะจำเป็นต้องใช้เพิ่มเข้าไปด้วย 

ซึ่งทั้งหมดเกิดจากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ที่ตัวเองมี ประกอบกับการวิเคราะห์ผลข้อมูล จากสิ่งที่เรียกว่าการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์นั่นเอง 

หากไม่มีข้อมูลวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ธุรกิจจะไม่สามารถแนะนำสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าต้องการได้อย่างถูกต้อง หรือสร้างความน่ารำคาญให้กับลูกค้าด้วยคำแนะนำที่ไม่เหมาะสม กลายเป็นส่งผลเสียให้กับธุรกิจแทน

ถ้าธุรกิจโลจิสติกส์ไม่ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ จะพลาดอะไรมั้ย?

ระบบติดตามรถที่วิเคราะห์เชิงคาดการณ์ให้รถทุกคันในธุรกิจคุณ

ไม่ว่าธุรกิจคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ช่วยวางแผนและตัดสินใจได้เฉียบขาดและรวดเร็ว ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้และอัปเดตตามสถานการณืจริง

Cartrack ระบบติดตามและจัดการยานพาหนะแบบ Telematics ที่แสดงข้อมูลเชิงลึกวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล

ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างชาญฉลาด: ระบุสาเหตุและวิธีการที่ธุรกิจของคุณใช้จ่ายเกินจำเป็น ด้วย MiFleet ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ต้นทุนล่วงหน้า ช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการดำเนินงาน และระบุจุดรั่วไหลของกำไร 

รักษาคุณภาพของสินค้า: ฟีเจอร์เสริม Cartrack ติดตามอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนอุณหภูมิที่แปรปรวนทันที 

ให้คุณทราบได้ทันทีในกรณีที่สินค้าแช่แข็งอาจไม่ตรงตามมาตรฐานอุณหภูมิของอุตสาหกรรม ช่วยให้คุณตัดสินใจเชิงรุกได้ทันท่วงทีและรักษาความพึงพอใจของลูกค้าได้

ยกระดับการวางแผนการบำรุงรักษา: เทคโนโลยีตรวจสอบสภาพรถยนต์อัจฉริยะ พลิกโฉมการวางแผนการบำรุงรักษา ลดเหตุรถเสียกะทันหันที่ทำให้ขาดโอกาสการใช้งาน และปรับปรุงการดำเนินงานด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามกำหนด 

นอกจากนี้ โซลูชันอัจฉริยะแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์สำหรับระดับน้ำมันและน้ำ สภาพความสมบูรณ์เครื่องยนต์ และการวินิจฉัยเครื่องยนต์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดเพิ่มอายุการใช้งานของรถได้อย่างดีเยี่ยม

เห็นทันทีเตือนทันเวลาปลอดภัยสูงกว่า: ด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายทอดสดระบบ AI ตรวจสอบสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โหมดจับพฤติกรรมการขับขี่ขั้นสูงและแจ้งเตือนคนขับด้วยเสียงแบบเรียลไทม์ 

แก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงและลดหรือหยุดปัญหาการขับขี่ได้อย่างทันท่วง ดูแลรถและสินค้าของคุณได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่า

ติดต่อ Cartrack ตอนนี้ เพื่อธุรกิจของคุณ

สอบถามข้อมูลระบบติดตามและจัดการยานพาหนะที่เข้ากับการใช้งานในธุรกิจของคุณ หรือขอใบเสนอราคา คลิกที่นี่เพื่อกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด 

หรือโทร 021362920 หรือ 021362921 ในวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลาทำการ เพื่อปรึกษาเจ้าหน้าที่แบบตัวต่อตัว ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ (Predictive Analysis) เป็นเครื่องมือใช้เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน เข้าใจข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ง่ายขึ้น