BLOGS

วันนี้คุณตัดสินใจเรื่องธุรกิจบนพื้นฐานข้อมูล..แล้วหรือยัง?

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ทุกวัน มีธุรกรรมและกิจกรรมต่างๆ มากมายเป็นร้อยหรือพันอย่างเกิดขึ้นในธุรกิจ มีประเด็นให้ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเพื่อเดินหน้าทำงานต่อไป 

และหากเป็นไปได้ ทุกธุรกิจก็ต้องการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความรู้สึกส่วนตัว การคิดไปเองคร่าวๆ การคาดเดา หรือความเข้าใจแบบผิวเผิน เพราะว่าการตัดสินใจทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลและผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน ทั้งทีมบริหาร คู่ค้า นักลงทุน ตลอดจนถึงพนักงานทุกคน 

บทความคาร์แทรคตอนนี้ ชวนทำความรู้จัก “การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลหรือข้อเท็จจริง” สำหรับธุรกิจที่มีงานขนส่งหรือมียานพาหนะใช้งาน ว่าวิธีตัดสินใจลักษณะนี้มีประโยชน์อย่างไร และต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คืออะไร?

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คือ การใช้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ มาประกอบหรือสร้างการตัดสินใจ

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล มีประโยชน์อะไรบ้าง

  1. คุณจะตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

    เมื่อคุณเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล คุณจะเริ่มตัดสินใจเรื่องราวนั้นได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว อย่างเช่น ตื่นกลางดึกกี่ครั้งต่อสัปดาห์ ไปจนถึงเรื่องงานอย่างยอดผู้ลงทะเบียนทดลองใช้สินค้าจากโฆษณาแบบภาพหรือวิดีโอ แบบไหนมากกว่ากัน

    ข้อมูลที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอดีต และผลการวิเคราะห์จะเป็นค่ามาตรฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ทั้งหมดช่วยให้คุณเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า การตัดสินใจของคุณที่กำลังจะมีขึ้นนี้จะส่งผลต่อไปอย่างไรในอนาคต

    นอกจากนี้ ข้อมูลยังเป็นเรื่องของเหตุผลและข้อเท็จจริงที่มั่นคงและปราศจากอคติ ต่างจากความรู้สึกหรือสัญชาตญาณส่วนตัว ซึ่งประกอบขึ้นด้วยประสบการณ์ส่วนตัวที่อาจไม่ครอบคลุมความเป็นจริงทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องใหญ่และกว้างมากๆ อย่างเช่น ธุรกิจ หรือสถานการณ์ตลาด ที่มีปัจจัยภายนอกที่เรารู้และไม่รู้มากมาย
  2. คุณจะเดินไปข้างหน้าได้ต่อเนื่องมากกว่ารอแล้วค่อยตัดสินใจ

    ในช่วงแรกที่เริ่มใช้วิธีตัดสินใจด้วยการอ้างอิงข้อมูล คุณอาจจะต้องรอผลวิเคราะห์ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ หรือรอให้ทุกอย่างเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยคิดลงมือทำอะไรสักอย่าง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติ

    แต่เมื่อคุณเริ่มใช้วิธีนี้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง คุณจะเริ่มก้าวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องในเชิงรุก โดยมีข้อมูลคอยส่งเสริมคุณตลอดทาง ไม่ต้องนั่งรอเรื่องราวให้เกิดขึ้นแล้วค่อยตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อ (และซึ่งถึงตอนนั้น การตัดสินใจทำอะไรก็อาจจะช้าไปแล้ว)

    เช่น หากคุณเป็นธุรกิจ คุณอาจจะพบช่องทางโอกาสทางธุรกิจได้ก่อนคู่แข่ง หรือจุดเริ่มต้นของความผิดพลาดที่สามารถยุติได้ง่ายก่อนที่มันจะลุกลาม
  3. คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน

    ผลการศึกษาโดยวารสารธุรกิจ Harvard Business Review สำรวจผู้บริหาร 1,000 คน ในเรื่องความสำเร็จ

    พบว่า เหตุผลสำคัญเรื่องหนึ่งที่พวกเขาลงทุนการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ประมวลผล คือ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และ 49% ของผู้ที่เริ่มต้นด้วยเหตุผลนี้ เห็นผลลัพธ์การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจริง หรือการลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ขณะที่ส่วนที่เหลือรู้สึกผลลัพธ์อื่นๆ ปะปนกัน ทว่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแน่นอน คือ ความสามารถในการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลอัปเดตหรือชุดล่าสุด กำลังกลายเป็นเรื่องปกติสามัญแล้ว

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คืออะไร

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลของธุรกิจมีขนส่งหรือการใช้รถ เป็นอย่างไร?

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลของธุรกิจมีการใช้รถ ก็เช่นกันที่ต้องเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ และแสดงผลออกมาเป็นข้อมูลไว้ใช้ตัดสินใจงานต่อไป เช่น สมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ พฤติกรรมการขับขี่ การพักการใช้งานยานพาหนะ ฯลฯ

และก็เหมือนกันว่า การเก็บข้อมูลต้องใช้ระบบการติดตามเฉพาะเช่นกัน เพื่อเก็บข้อมูลที่มากมายและมาจากหลายด้านอย่างถูกต้อง เพราะการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลอาจไม่ถูกต้อง หากขั้นตอนการเก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้ออกมาก็จะไม่ถูกต้องไปด้วย

จึงเป็นที่มาของ “ระบบวิเคราะห์ข้อมูลยานพาหนะ” ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในองค์กรชั้นนำทุกวันนี้

ระบบวิเคราะห์ข้อมูลยานพาหนะ ทำงานกับข้อมูลอย่างไร?

ระบบวิเคราะห์ข้อมูลยานพาหนะ จะใช้เทคโนโลยีเทเลเมติกส์เก็บข้อมูลยานพาหนะและเครื่องจักรที่ต้องการ ซึ่งระบบเทเลเมติกส์จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อตรวจจับและบันทึกข้อมูลอย่างแม่นยำและมีรายละเอียดมากขึ้น

  • เทคโนโลยีระบบติดตามจีพีเอส: เพื่อตรวจจับและติดตามพิกัดแบบเรียลไทม์
  • ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย: เพื่อถ่ายโอนข้อมูลจากกล่องอุปกรณ์เข้าสู่ระบบ
  • เซนเซอร์ติดตาม: เพื่อติดตามรายละเอียดเฉพาะของยานพาหนะ เช่น เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ แท็กประจำตัวผู้ขับขี่ เซนเซอร์เปิดปิดประตูรถ ฯลฯ

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล ช่วยจัดการยานพาหนะได้แค่ไหน?

1. เพิ่มความปลอดภัยให้ยานพาหนะได้มากขึ้น

การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล จะเป็นการใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในการดูแลและจัดการยานพาหนะ เช่น

  • แจ้งเตือนพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยง เมื่อระบบพบพฤติกรรมเสี่ยง จะแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวและข้อมูลต่างๆ ของเหตุการณ์เข้าสู่ระบบ แจ้งเตือนผู้ขับขี่ และบันทึกในระบบทันที เพื่อให้ผู้จัดการยานพาหนะหรือเจ้าของธุรกิจรับทราบทันที
  • บำรุงรักษายานพาหนะได้เหมาะสมกับสถานการณ์จริงที่สุด ด้วยการติดตามและบันทึกข้อมูลทันทีและตลอดเวลา จึงพบความสึกหรอทรุดโทรมตั้งแต่เริ่มต้นและป้องกันการลุกลามจนเกิดอันตรายระหว่างการขับขี่ได้ทันท่วงที

2. ประหยัดต้นทุนการขับขี่

ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ระบบติดตามยานพาหนะที่ช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจได้จะเก็บข้อมูลการใช้ยานพาหนะและการใช้น้ำมัน ช่วยให้รู้ว่าใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน จุดไหนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอะไร แก้ไขได้อย่างไร 

รวมถึงรู้สถานะของยานพาหนะได้ตลอดเวลา ว่าพร้อมเต็มร้อยหรือไม่ จุดไหนที่ไม่พร้อมและเพราะอะไร

3. ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น

ระบบติดตามยานพาหนะพร้อมวิเคราะห์ข้อมูล จะสามารถบอกสถานะและพิกัดสถานการณ์ของยานพาหนะได้ ที่สามารถใช้ยืนยันสถานะกับลูกค้าของธุรกิจได้

นอกจากนี้ความสามารถในการติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ปรับปรุงเส้นทางการขับขี่ได้ทันที หรือนำมาปรับปรุงเส้นทางใหม่ในภายหลังได้ ให้ขนส่งได้ไวขึ้น เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกทาง

ระบบที่ช่วยธุรกิจตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลของยานพาหนะและผู้ขับขี่ ดีที่สุด

เพราะธุรกิจมีเรื่องให้ต้องตัดสินใจทุกวัน สำหรับยานพาหนะ เครื่องจักร และผู้ขับขี่ควบคุมเครื่องยนต์ Cartrack ระบบติดตามและจัดการยานพาหนะและผู้ขับขี่ ติดตาม ตรวจจับ บันทึก และประมวลผลข้อมูล ที่ช่วยจัดการยานพาหนะและผู้ขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกวัน ตลอด 24 ชม. เหมือนผู้ช่วยติดตามที่ทำงานได้ตลอดเวลา

1. ติดตามยานพาหนะ ด้วยระบบจีพีเอส และเซนเซอร์เฉพาะทางประเภทต่างๆ

2. ติดตามพฤติกรรมผู้ขับขี่ ด้วยระบบจีพีเอส เซนเซอร์เฉพาะ และกล้องระบบ AI

3. ติดตามแจ้งเตือนการซ่อมบำรุง ด้วยระบบจีพีเอส และระบบบำรุงรักษายานพาหนะและเครื่องยนต์

4. ปรับปรุงเส้นทางการขับขี่ ด้วยระบบจีพีเอส และ Delivery ซอฟต์แวร์จัดเส้นทางการเดินรถอัตโนมัติ

5. จัดการต้นทุนยานพาหนะและการขนส่ง ด้วยระบบจีพีเอส และ MiFleet ซอฟต์แวร์จัดการต้นทุนการใช้ยานพาหนะทั้งหมด

ตัดสินใจด้วยข้อมูล จัดการได้ดีกว่า ลดต้นทุนชัดเจนที่สุด ด้วย Cartrack

ทดลองดูระบบการใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หรือปรึกษาปัญหาการใช้งานยานพาหนะและจัดการขนส่งของคุณ เพื่อค้นหาระบบที่แก้ปัญหาได้ตรงจุด ที่โทร 02-136-2920 , 02-136-2921 ในวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลาทำการ หรือคลิกทักไลน์ที่นี่เพื่อแจ้งความต้องการให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด

ทุกวัน มีธุรกรรมและกิจกรรมต่างๆ มากมายเป็นร้อยหรือพันอย่างเกิดขึ้นในธุรกิจ มีประเด็นให้ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเพื่อเดินหน้าทำงานต่อไป