BLOGS

5 จุดที่อาจกลายเป็นจุดบอดในขณะขับรถที่ต้องระวัง

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

การขับขี่รถยนต์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด รุ่นใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ เพราะหากไม่ดีพอ ก็จะมองไม่เห็นยานพาหนะ หรือวัตถุชนิดอื่น ๆ ที่เข้ามาใกล้รถจนเกิดเป็นอุบัติเหตุได้ เพราะไม่ว่าจะระมัดระวังเพียงใดก็ตามรถทุกคันก็ล้วนมี จุดบอด รึจะเรียกว่า จุดอับสายตา หรือบริเวณที่อุปกรณ์ช่วยมองหรือกระจกส่องข้างไม่สามารถจับภาพได้ อาจอยู่ระหว่างแนวพนักพิงของผู้ขับ

ทำให้ผู้ขับจะไม่สามารถมองเห็นบริเวณอับสายตาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ ยิ่งในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนช่องทางเดินรถหรือเข้าทางแยกก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากการที่รถยุคใหม่ ๆ ล้วนมีการออกแบบเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น และลดจุดบอดต่าง ๆ ของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะจุดอับที่ผู้ขับขี่มองเห็นได้ยากและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

จุดอับสายตาบริเวณเสาเอ

เสาเอคือชื่อเรียกเสาที่ใช้ติดตั้งกระจกหน้ารถ ซึ่งในอดีตใช้เพียงเพื่อบังลมปะทะในขณะขับขี่เท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงมุมมองที่กลายเป็นจุดบอดมากสักเท่าไร ยิ่งรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ขับขี่มากขึ้น โดยจะปรับเสาเอให้มีความลาดเอียงมากขึ้น บางรุ่นอาจปรับเสาเอให้มีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติเพื่อเสริมความปลอดภัย บางรุ่นอาจเพิ่มม่านถุงลมนิรภัยเอาไว้

ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดมุมอับสายตาที่ยากต่อการมองเห็นในระหว่างขับขี่ โดยเฉพาะด้านที่อยู่ตรงข้ามกับผู้ขับ วิธีการแก้ไขมุมอับสายตาในลักษณะนี้คือผู้ขับขี่ห้ามปรับเบาะนั่งให้สูงเกินไป วัดจากระดับศีรษะของผู้ขับขี่กับหลังคารถที่จะต้องห่างกันมากกว่า 6 นิ้ว หรือหากเป็นช่วงที่เสี่ยงอันตรายอาจต้องโยกศีรษะไปข้างหน้า หรือเอียงศีรษะเพิ่มเติมเพื่อดูทางบ้าง

จุดอับสายตาจากข้อจำกัดของกระจกมองข้าง

จุดอับที่อยู่นอกเหนือองศาการมองเห็นของผู้ขับขี่จากกระจกมองหลังที่ได้ปรับมุมมองเอาไว้ โดยส่วนมากจะเป็นบริเวณที่ห่างจากตัวรถในลักษณะเกือบตีคู่กับรถ วิธีแก้คือปรับท่านั่งของผู้ขับให้อยู่ในท่าที่ถนัด สามารถเหลียวมองตามจุดต่าง ๆ และเป็นท่าที่สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของรถได้อย่างปลอดภัย

ปรับกระจกมองข้างให้ได้มุมมองกว้างที่สุด สามารถมองเห็นตัวรถด้านข้าง พื้นผิวถนน และเส้นแบ่งเลนได้ ระดับการมองไม่สูงเกินไป ผู้ขับขี่ไม่ต้องเคลื่อนศีรษะมากเกินไปเพื่อมองทาง เพราะการเอี้ยวมองด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปจะทำให้เกิดจุดบอดการมองเห็นในบริเวณด้านตรงข้ามได้

จุดอับสายตาจากมุมมองของกระจกมองหลัง

จุดอับบริเวณนี้มักเป็นจุดที่ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวัง เพราะคิดว่าการมองด้วยกระจกมองข้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่า บางคนยังติดนิสัยนำสิ่งของไปวางไว้หลังรถจนไม่สามารถใช้งานกระจกมองหลังได้ กลายเป็นกระจกส่องหน้า หรือคอยสังเกตผู้โดยสารด้านหลังแทน

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วกระจกมองหลังมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก จำเป็นต้องใช้งานในกรณีขับขี่แซงหน้ารถคันอื่น เปลี่ยนเลน หรือถอยรถ การใช้งานกระจกมองหลังต้องมองเห็นหน้าต่างด้านหลังได้ทั้งบาน เป็นการเพิ่มทัศนวิสัยด้านหลังของรถ

การปรับองศาของกระจกมองหลังต้องไม่ให้เห็นศีรษะของผู้ขับขี่ แต่เห็นภาพด้านหลังทั้งหมด การใช้กระจกมองหลังเพื่อแซง ให้ผู้ขับขี่ใช้กระจกมองหลังไปยังตำแหน่งหน้ารถคันที่ต้องการแซง กะระยะห่างให้มั่นใจว่าอยู่ห่างประมาณ 2 – 3 ช่วงตัวรถ หรือในระยะที่ปลอดภัย การมองด้วยกระจกมองหลังจะช่วยในการกะระยะได้ดีกว่ากระจกมองข้าง แต่ก็ต้องมองให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันรถที่อยู่ในจุดบอดในเลนที่ต้องการแซงหรือเปลี่ยนเลนก่อน

จุดอับสายตาจากรถคันอื่น

ในกรณีที่ต้องขับรถตามหลังรถคันที่ใหญ่กว่าอย่างรถบรรทุก หรือรถบัสนั้นจะทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นข้างหน้าลดลงมาก ระยะห่างที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นได้นั้นมีจำกัด จนยากจะบอกได้ว่าเส้นทางนั้นมีทางแยก ทางโค้ง หรือมีรถสวนทางมาหรือไม่ การขับรถตามหลังรถที่มีขนาดใหญ่จึงควรเว้นระยะให้มากที่สุด กะระยะคร่าว ๆ จากความสามารถในการมองเห็นเลนที่สวนทางได้ชัดเจน หรือหากมีโอกาสที่เหมาะสมก็ควรแซงหน้าขึ้นไปทันที แต่ไม่ควรแซงซ้ายเพราะถือเป็นจุดบอดของรถที่มีขนาดใหญ่เองด้วย

จุดอับสายตาอันเนื่องมาจากลักษณะของเส้นทาง

จุดอับสายตาในลักษณะนี้อาจไม่แน่นอน เนื่องมาจากสภาพพื้นผิวถนนหรือเส้นทางที่มีลักษณะโค้ง ทางลาดขึ้นหรือลงเนิน ซึ่งแม้จะเป็นจุดบอดแต่ผู้ขับขี่สามารถป้องกันอันตรายได้โดยปฏิบัติตามป้ายเตือนจราจรที่กำหนดเอาไว้อย่างเคร่งครัด ยิ่งในกรณีเส้นทางที่ผู้ขับขี่ไม่รู้จักควรเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

อย่าแซงในบริเวณทางโค้ง หรือใช้ความเร็วในการขับขึ้นหรือลงเนินอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเส้นทางที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นปลายทางได้ การขับในเวลากลางคืนควรใช้สัญญาณไฟสูงช่วยหากมองเส้นทางไม่ชัดเจน หรือเป็นการใช้เพื่อให้สัญญาณเตือนแก่รถที่ขับสวนเลนกันให้สังเกตเห็นรถของผู้ขับขี่เองด้วย

เมื่อขับขี่อย่างระมัดระวัง ใช้ความเร็วและสมาธิในการขับขี่อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้การจัดการจุดบอดของผู้ขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ

การขับขี่รถไม่ว่าจะเป็นประเภทใด สิ่งสำคัญคือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ เพราะหากไม่ดีพอ ก็จะมองไม่เห็นยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นๆ หรือมี จุดบอด