
CARTRACK (คาร์แทรค) แท็กทีมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อ ขนส่งวัตถุอันตราย อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
บริษัท คาร์แทรค เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมเป็นวิทยากรพิเศษใน “หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์สินค้าอันตรายเพื่อการขนส่งข้ามแดนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CLMVT)” ด้วยรูปแบบการฝึกอบรมทางไกลหรือออนไลน์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา
โครงการให้ความรู้โลจิสติกส์เฉพาะทางนี้ เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของ 2 องค์กรสำคัญในวงการขนส่งและแรงงาน ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานฯ
ซึ่งจะเชิญธุรกิจที่เกี่ยวข้องระดับชั้นนำเข้าร่วมให้ความรู้กับผู้เข้าอบรมด้วย โดยในโอกาสนี้ CARTRACK ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเฉพาะทางในหัวข้อ “สมาร์ท เทคโนโลยี (Smart Technology) เพื่องานขนส่งสินค้าอันตราย”

แนวความรู้ด้าน ขนส่งวัตถุอันตราย น่าสนใจจากหลักสูตรฯ
- ขนส่งวัตถุอันตราย บนทางบก มีความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุและความปลอดภัย ในระดับใกล้เคียงกันกับการขนส่งวัตถุประเภทอื่นๆ แต่ความเสียหายมากกว่า เนื่องจากเป็นวัตถุอันตราย
- การควบคุมผู้ขับขี่และการใช้ยานพาหนะจึงเป็นเรื่องสำคัญ
- ระบบจัดการยานพาหนะ หรือ Fleet Management ซึ่งเป็น Telematics สามารถช่วยบริหารได้อย่างเป็นระบบ และบันทึกข้อมูลเพื่อปรับปรุงการทำงานต่อได้
- การบริหารผู้ขับขี่ เช่น จับและแจ้งเตือนพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หาวง่วงนอน สูบบุหรี่ ใช้โทรศัพท์ เหม่อลอย ขับจี้รถคันหน้า ฯลฯ ต่อผู้ขับขี่ทันทีที่เกิดพฤติกรรม และส่งภาพวิดีโอพร้อมรายละเอียดเข้าสู่ระบบข้อมูลยานพาหนะ
- การบริหารยานพาหนะ เช่น ควบคุมเวลาการใช้รถและผู้ใช้งาน เพื่อดูแลยาพาหนะไม่ให้ใช้งานเกินกำหนด และระดับความปลอดภัยของการใช้รถเพื่อขนส่งวัตถุอันตราย ซึ่งมีขีดจำกัดที่เข้มงวดกว่ารถขนส่งหรือรถบรรทุกวัตถุทั่วไป
- การบริหารผู้ขับขี่และยานพาหนะ จะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนที่สำคัญอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการขนส่งวัตถุอันตราย หรือเจ้าหน้าที่ที่บริหารยานพาหนะ ดึงข้อมูลมาใช้ประเมินคุณภาพการขนส่ง ทั้งในด้านผู้ขับขี่และยานพาหนะที่ใช้
สรุปประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อขนส่งวัตถุอันตราย
- ลดอุบัติเหตุ ซึ่งเท่ากับความเสียหายในด้านต้นทุนเงิน เวลา และบุคคล
- พัฒนาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและมีระบบที่จัดการได้ง่าย และส่งต่องานกันได้ง่าย เพราะหัวใจของการบริหารงานอยู่ในระบบเทคโนโลยีทั้งหมด
- เพิ่มผลกำไรต่อการลงทุน (ROI) โดยเฉพาะภาคธุรกิจหรือเอกชน ที่แนวโน้มการเพิ่มผลประกอบการในปัจจุบัน คือ การลดต้นทุนหรือค่าเสียหาย
- เพิ่มโอกาสการขยายธุรกิจหรือการลงทุน เมื่อการจัดการง่ายและเข้าที่เป็นระบบแล้ว การต่อยอดก็ทำได้ง่าย ทั้งเพื่อการพัฒนาเชิงภาครัฐและภาคเอกชน
CARTRACK ขอขอบคุณ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อีกครั้งในที่นี้ ที่มอบโอกาสการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่อง เทคโนโลยี Fleet Management เพื่อพัฒนาการขนส่งวัตถุอันตราย
หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนใด สนใจต้องการข้อมูลเทคโนโลยี Fleet Management เพื่อการใช้งานเฉพาะทาง CARTRACK ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือหรือคำปรึกษา โดยสามารถติดต่อฝ่ายการตลาดของ CARTRACK ได้ที่โทร 02-136-2929