BLOGS

GPRS คืออะไร? เราเคยใช้ระบบ GPRS กันหรือไม่?

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

คงจะรู้สึกคุ้นเคยกับคำว่า GPRS กันมามากพอสมควรเลยทีเดียวยิ่งคนยุคนี้ที่อะไรมันดูไฮเทค ใช้เทคโนโลยีเต็มไปหมดแค่คำๆ นี้ ใครไม่รู้จักคงเชยระเบิดแน่นอน แต่เอาเข้าจริงเมื่อถามรายละเอียดเบื้องลึกทำนองว่า GPRS คือ อะไร? คงเล่นเอางงกันไม่น้อย

เพราะแม้จะบอกว่ารู้จักแต่ส่วนใหญ่มักได้ยินแค่ชื่อที่มันคุ้นหู คุ้นเคย แต่ไม่ได้บ่งบอกว่าจะต้องรู้จักสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจัง นั่นจึงทำให้พอถามเข้าไปยันเบื้องลึกแล้วมีน้อยคนมากที่จะรู้ว่า GPRS คือ อะไร กันแน่

ความหมายของ GPRS

GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service ถือเป็นสิ่งธรรมดามากๆ ในวงการโทรคมนาคม มีการจัดให้ระบบนี้อยู่ในยุคทีเรียกว่า 2.5 G ซึ่งในอดีต 1 G หมายถึง มือถือทั่วไประบบอนาล็อก และ 2 G หมายถึง มือถือดิจิตอลยุคแรกเริ่ม

แม้ทุกวันนี้โลกของเราจะพัฒนาไปไกลในระดับ 3 G, 4 G แล้วก็ตาม แต่เรื่องของ GPRS ยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่มองไปคล้ายกับเป็นจุดกำเนิดของเทคโนโลยียุคใหม่นี้ก็ไม่ผิด

การใช้ระบบนี้เปรียบเสมือนการเริ่มต้นบริการอันแสนล้ำยุคของมือถือที่ไม่ได้มีการจำกัดเรื่องของการใช้เสียงเหมือนสมัยมือถือยุคแรกๆ ที่เราใช้งานกัน

ความสามารถพิเศษหลักๆ คือการส่งผ่านข้อมูลด้วยมือถือในความเร็วระดับ 172 Kbps เมื่อเทียบกับมือถือธรรมดายุคก่อนจะส่งผ่านข้อมูลด้วยมือถือได้แค่ 9.6 Kbps เท่านั้น

ความเร็วดังกล่าวจึงทำให้มือถือสามารถรองรับเรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ปัญหา ถือเป็นจุดเริ่มต้นสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายกันมากในสมัยนี้

GPRS เกิดและก้าวกระโดด

สำหรับตัว GPRS พร้อมใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่เมื่อปี 2000 พอมาปี 2001 มีการทดสอบใช้บริการความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน จากแต่เดิมที่การรับส่งข้อมูลผ่านระบบ GSM และในตอนนั้นตัวเครื่องของ GSM เดิมยังไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้

ต่อมาอีกไม่กี่ปีโลกของเราก็เริ่มเข้าสู่ยุค 3 G จึงเรียกได้ว่า GPRS คือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ หลายด้าน ซึ่งหากให้สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นว่า GPRS คืออะไร สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเด็นหลักๆ ประกอบด้วย

  • GPRS ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเครือข่ายเดิม วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การส่งข้อมูลต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
  • เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลในแบบฉบับเน้นความรวดเร็ว สามารถนำมาใช้งานได้กับเครือข่ายของระบบ GSM เพิ่มความรวดเร็วในการติดตั้งรวมถึงระยะเวลาในการส่งข้อมูลให้เร็วมากขึ้นกว่าเดิม
  • เป็นเทคโนโลยีเริ่มต้นของการใช้ Internet Mobile ช่วยให้การใช้งานมือถือมีความสะดวกกว่าเก่า ทำธุรกรรมต่างๆ ได้สะดวกสบายมากขึ้นเพียงแค่มีมือถืออยู่ในมือเท่านั้น
  • ส่งผ่านข้อมูลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม คิดง่ายๆ คือจากความเร็วแค่ 9.6 Kbps เพิ่มมาเป็นขั้นต่ำ 40 Kbps อยู่ตรงไหนก็สามารถใช้งานได้
  • จุดเริ่มต้นของการส่งข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมือถือในยุคก่อนทำไม่ได้แน่นอน เช่น ไฟล์วีดีโอ, ไฟล์ภาพ, งานกราฟิก, ไฟล์เสียง เป็นต้น

นี่คือคำอธิบายจากคำถามที่ว่า GPRS คือ อะไร แบบเข้าใจง่าย ตรงประเด็นสุดๆ

ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปจริงๆ GPRS เปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารที่ช่วยให้โลกของเราแคบลงกว่าเดิมหลายเท่าแถมยังช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน

เหตุผลที่ต้องเลือกใช้งาน GPRS

  • ส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว แม้ยามที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมากขนาดไหนก็ตาม
  • โลกอินเตอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว ใช้งานง่าย จะอยู่พื้นที่ส่วนไหนของโลกใบนี้ก็ใช้งานได้แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เยอะเมื่อเทียบกับอดีต เช่น จะให้ดูรูปก็ต้องเสียเงินค่าส่ง MMS เป็นต้น
  • ติดต่อสื่อสารเข้าถึงรวดเร็ว ไม่พลาดทุกการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์, โปรแกรมแชทต่างๆ หรือโซเชียลมีเดีย ก็เริ่มต้นจาก GPRS ด้วยกันทั้งนั้น

ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการ GPRS

  • ต้องเป็นผู้ใช้บริการผ่านเครือข่ายที่รองรับระบบ GPRS เท่านั้น
  • เครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานก็จำเป็นต้องรองรับระบบ GPRS ด้วยเช่นกัน
  • ต้องใช้การตั้งค่าต่างๆ ในมือถือสำหรับการเชื่อมต่อระบบ GPRS

GPRS แบบทฤษฎี

GPRS นับเป็นวิวัฒนาการการส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายเรียกว่า packet switching ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการสื่อสารข้อมูลแบบ CSD จากเครือข่าย GSM แรกเริ่มคือผู้ใช้งานมีทางเลือกใหม่ๆ สำหรับการสื่อสารแบบ packet-based

การขยายในส่วนขีดความสามารถของเครือข่าย CSD ให้มีการเพิ่มความสามารถในระบบ packet switching โดยข้อมูลต่างๆ ที่มีการรับส่งผ่าน GPRS จะถูกแบ่งออกเป็น packet ย่อยๆ อีก

แต่ละ packet จะมีข้อมูลระบบแหล่งที่มาอย่างสัมพันธ์กันเพื่อต้องการให้ประกอบกลับมาเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้ง

นึกภาพง่ายๆ เหมือนจิ๊กซอว์ที่ภาพมีการตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มาจากโรงงานบรรจุแพ็คเกจขายมา ทุกชิ้นส่วนจะคละเคล้ากันไปเมื่อถึงบ้านการต่อจะค่อยๆ ต่อทีละชิ้น สุดท้ายก็ได้ภาพออกมา การใช้งาน GPRS ก็มีลักษณะประมาณนั้น

ก่อนการมาถึงของ GPRS

เมื่อเข้าใจในรายละเอียดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของ GPRS กันแล้ว ขอมาพูดถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในช่วงก่อนจะมีการถือกำเนิด GPRS อย่างเป็นทางการ

ก่อนหน้านี้วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่เองได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านมือถือ รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า None Voice Application ตามมาอย่างต่อเนื่อง

เหตุผลของการพัฒนาเพื่อต้องการให้เกิดการสื่อสารระหว่างเคลื่อนที่ได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด จะสื่อสารผ่านเสียงพูด ข้อมูลเนื้อหา ได้ทุกอย่าง

นั่นทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือหันมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มากขึ้นยิ่งกว่าเก่าแถมยังช่วยให้โลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องด้วย

โดยเทคโนโลยีดั้งเดิมก่อนการพัฒนามาเป็น GPRS และอื่นๆ เริ่มต้นมาจาก

  • Short Message Service (SMS) ที่เราคุ้นเคยกันดี การใช้เทคโนโลยี SMS คือการส่งข้อความสั้น ถือว่าในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งนี่คือสิ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก แถมผู้ให้บริการแต่ละรายยังมีการแข่งขันเพื่อต้องการสร้างรายได้จากการใช้เงินส่งข้อความของผู้ต้องการส่ง
  • Circuit Switched Data (CSD) เป็น ข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสาร จากจุดหนึ่งไปถึงจุดหนึ่ง โดยผ่านตัวกลางรับส่งที่จัดสรรสัญญาณที่ดีที่สุด แม้ตอนแรกอาจยังไม่ค่อยมีความเสถียรมากนักแต่ถือเป็นจุดเริ่มต้น

กระนั้นผู้ใช้บริการมือถือเองได้มองเห็นว่าการถ่ายโอนเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ของมือถือยังมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของความเร็วในการรับส่ง บวกกับปริมาณของข้อมูล นั่นทำให้เริ่มมีการพัฒนาเพื่อปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

GPRS จุดเริ่มต้นของระบบการสื่อสารในปัจจุบัน

ความพิเศษที่เหนือกว่าคือ GPRS สามารถติดต่อด้วยเสียงตอนที่เรากำลังติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ต

นั่นหมายถึงว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารพร้อมกันได้ 2 ระบบ ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่จะทำได้หรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับมือถือแต่ละรุ่นด้วยในยุคนั้นที่ทำการผลิตออกมา

ถือเป็นอีกการพัฒนาที่น่าสนใจสุดๆ ของระบบ GPRS จากตรงนี้เราเห็นได้ชัดเจนว่า ระบบการทำงานของเทคโนโลยี มีขั้นตอนการสร้างขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจ

หลายคนคาดไม่ถึงเหมือนกันว่า จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้จะทำให้ GPRS ได้พัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นระบบ 3G, 4G ให้เราได้ใช้กันทุกวันนี้นั่นเอง

GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ตบนมือถือ

ตอนนี้เราพอเข้าใจกันแล้วว่า GPRS ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้มือถือใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ แต่เรื่องต่อไปนี้จะมาทำความเข้าใจให้ลึกขึ้นอีกว่าการใช้งาน GPRS เพื่อให้เกิดการเชื่อมโลกอินเตอร์เน็ตบนมือถือเป็นอย่างไร

GPRS ไม่ใช่ตัวเครือข่ายหรือตัวให้บริการที่จะให้บริการด้วยตนเองได้ แท้จริงแล้ว ตัวของมันเป็นเพียงแค่เครือข่ายรองรับให้กับบรรดาแอปฯ ต่างๆ ที่มีความต้องการใช้งานความเร็วให้มากขึ้นกว่าระบบ GSM ซึ่งเป็นระบบการรองรับในอดีต เมื่อเลือกใช้งานระบบ GPRS ต้องมีการต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็นตัว IP Network อีกทอดหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่เปิดใช้งานในระบบ GPRS ได้ต้องมีการติดตั้งระบบเครือข่ายหลักๆ 2 หน่วยด้วยกัน ได้แก่

  • SGSN หรือ Saving GPRS Service Node – หน้าที่หลักของระบบนี้เชื่อมต่อเส้นทางระหว่าง SGSN ในแต่ละพื้นที่สำหรับผู้ใช้บริการทุกคนในบริเวณของพื้นที่ให้บริการ ทำหน้าที่ติดตามตำแหน่งที่อยู่ผู้ใช้บริการมือถือที่มีระบบ GPRS ควบคุมข้อมูลการติดต่อแบบแพกเกจ ลักษณะใกล้เคียงกับชุมสาย MSC ซึ่งทำงานแบบ Circuit Switched แต่ตัวของ SGSN จะทำงานแบบ Packet Switched
  • GGSN หรือ Gateway GPRS Support Node – ทำหน้าที่หลักเป็น Gateway เพื่อเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย GPRS กับเครือข่ายตัวข้อมูลทั่วไป เช่น IP กับ X25 รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของ GPRS อื่นๆ เพื่อให้เกิดการโรมมิ่งอีกด้วย มีการทำหน้าที่เป็น Gateway สำหรับการเชื่อมต่อโครงข่าย IP ไม่ก็โครงข่าย Packet ซึ่งตัว GGSN นี้มีการต่อเข้ากับ SGSN ผ่าน IP Backbone และองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ GPRS จะมีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Circuit Switched ของตัวโครงข่ายเดิมที่มีกันมาก่อนอยู่แล้ว

อธิบายง่ายๆ คือ ทั้ง 2 ระบบนี้จะมีการเชื่อมต่อให้เข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่นๆ เป็นตัวกลางใช้ Radio Interface จาก Base Station ผ่านตัวควบคุมอย่าง PCU หรือ Pocket Control Unit โดยติดตั้งเอาไว้ที่ BSC หรือ Base Station Controller นั่นเอง

ความหมายชัดเจนคือมันมี 2 ระบบนี้เป็นตัวกลางสำคัญในการทำให้ GPRS สามารถเชื่อมต่อกับโลกของมือถือได้อย่างที่เห็นกันนั่นเอง

ประโยชน์ของ GPRS ในยุคก่อนหน้านี้

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ GPRS ถือว่ามีประโยชน์ต่อการใช้งานด้านเทคโนโลยีของคนเราอย่างมาก มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการติดต่อสื่อสารได้เยอะมาก เพราะ GPRS ทำให้การคิดอัตราค่าบริการด้านการใช้บริการอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการรับส่งข้อมูล ไม่ได้รวมถึงช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ส่งผลให้เวลานั้นผู้ใช้งานเสียเงินแค่ค่าบริการตอนดาวน์โหลดกับอัปโหลดเท่านั้น
  • มีความรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว GPRS ช่วยให้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เร็วขึ้นกว่าเก่า การเข้าสู่เว็บไซต์ การใช้งานอีเมล เป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก
  • คุ้มค่าต่อการนำมาใช้งาน ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่ผลตอบรับจากการรับส่งข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า
  • รับส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่จำกัดแค่ข้อความ เช่น รูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ แถมคุณภาพของภาพ เสียง รูปภาพ วีดีโอ ยังคมชัดมากกว่า ไม่มีปัญหาสะดุด เป็นการปรับเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่หลายๆ ด้านให้เกิดขึ้น
  • กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีต่างๆ ในยุคนี้ เพราะต้องยอมรับว่าหากวันนั้นไม่มีระบบ GPRS ให้ได้ใช้งานกัน อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงดังที่เราใช้งานทุกวันนี้อาจไม่เกิดขึ้นได้ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การโทร, โปรแกรมแชท และอื่นๆ จุดเริ่มต้นล้วนมากจากการใช้งาน GPRS

ข้อดีที่เหนือกว่าระบบ GSM ของ GPRS

  • ระดับความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ เมื่อมีการเทียบกับเทคโนโลยีในยุคนั้นที่ไม่ได้ก้าวล้ำเหมือนเวลานี้
  • เป็นยุคเริ่มต้นที่มือถือสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาแบบไม่ต้องเสียเงินค่าบริการ พร้อมกันนี้ยังสามารถโทรออก รับสาย ได้ขณะที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ แน่นอนว่าระบบนี้ GSM ทำไม่ได้แน่นอน
  • เสียค่าบริการเฉพาะตัวจำนวนข้อมูลที่ได้ทำการรับส่ง หรือที่เรียกว่า Download กับ Upload เท่านั้น
  • เป็นยุคเริ่มต้นของการรับข้อมูลข่าวสารแบบมัลติมีเดียได้ เช่น การรับชมคลิปวีดีโอ, การเข้าอินเตอร์เน็ตยังเว็บที่มีการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น ผ่านอุปกรณ์อย่าง PDA ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือมือถือนั่นเอง

ปัจจุบันยังมีการใช้งาน GPRS หรือไม่?

เชื่อหรือไม่ว่า ระบบ GPRS ยังคงใช้งานอยู่ ในยุคนี้ใครๆ ต่างก็คิดว่าระบบ GPRS แทบไม่ได้มีความหมายในการใช้งานแล้ว

แต่ในความเป็นจริง ระบบ GPRS เป็นระบบรับส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต จึงยังคงมีความสำคัญในยุคนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

โดยเฉพาะการนำไปใช้ร่วมกับระบบ GPS ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าระบบทั้ง 2 นี้ เป็นระบบเดียวกัน

การทำงานร่วมกันระหว่าง GPS และ GPRS

การทำงานร่วมกันระหว่างระบบ GPS กับ GPRS สามารถใช้งานร่วมกันได้เนื่องจากมี PDA Phone + GPS บางรุ่นเลือกใช้ความสามารถในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของ GPRS เพื่อทำการดาวน์โหลดไดร์ฟเวอร์ของ GPS ในตัวเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับ GPS ได้อีกทางหรือที่เรียกกันว่า GPS Tracking

ลักษณะคือเป็นตัว GPS Hardware + GPRS วิธีการแบบนี้คือ จะส่งสัญญาณพิกัดของตนเองเข้าไปในอินเตอร์เน็ต ผ่านตัวระบบ GPRS ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ หรือคนเป็นเจ้าของ GPS Tracking

หัวใจหลักของการทำงานร่วมกันของ 2 ระบบ คือ เพื่อให้ระบุว่าสิ่งที่ตัว GPS Tracking เกาะติดตามไปนั้นเวลานี้อยู่ตรงไหน มีความเร็วในการเคลื่อนที่เท่าไหร่

ใครที่จำเป็นต้องใช้ GPS Tracking?

GPS Tracking ที่มีเรื่องของ GPRS เข้ามาเกี่ยวข้องจึงมักนิยมใช้กับเรื่องการขนส่ง เช่น รถขนเงินธนาคาร, รถขนน้ำมัน, รถขนสินค้าของบรรดาบริษัทใหญ่ๆ

แต่ปัญหาคือ ระบบดังกล่าวนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมากๆ แถมยังมีเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติเข้ามาเป็นตัวเกี่ยวข้องอีก

อย่างไรก็ตามหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งได้เริ่มมีการใช้งานระบบดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่กำลังออกเดินทางไปส่งจะถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ไร้กังวล

ยิ่งในยุคนี้สิ่งที่เราพบเห็นกันมากเมื่ออินเตอร์เน็ตกลายเป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ คือ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ ถ้าหากเป็นสินค้าทั่วๆ ไป ราคาไม่ได้แพงมากมันคงไม่มีปัญหา

แต่สำหรับสินค้าบางชนิดที่มีราคาสูงการใช้บริการบริษัทขนส่งที่มีมาตรฐานตรงนี้จะช่วยทำให้มั่นใจได้ทั้งผู้ส่งกับผู้รับว่าไม่มีปัญหาแน่นอน

เนื่องจากระบบตรงนี้จะช่วยให้รู้ความเคลื่อนไหว ทำงานได้ง่ายมากขึ้น

สำหรับการเลือกระบบนี้มาใช้งานของบริษัทขนส่งหลายๆ แห่ง เรามักสังเกตได้ชัดเจนอีกอย่างคือระบบ GPRS ดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้เพื่อตรวจสอบรถยนต์นั้นจะมีในรถบรรทุกหรือรถส่งของ เป็นส่วนใหญ่

แต่นอกจากรถเหล่านี้จริงแล้วยังสามารถนำไปใช้งานกับรถจักรยานยนต์, เรือ หรือแม้แต่การทำงานของเครื่องจักรอย่างเครื่องโม่ปูน เครนยก ก็ทำได้เช่นกัน

GPRS สำหรับการติดตามในงานขนส่ง

อย่างที่กล่าวเอาไว้ในเรื่องก่อนหน้าว่าแม้ระบบ GPRS อาจถูกมองว่าไม่ค่อยได้รับความสนใจเหมือนเมื่อก่อนมากนัก เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น

แต่กระนั้นเรายังคงเห็นกลุ่มคนที่นำประโยชน์ตรงนี้ไปใช้งานได้อย่างน่าสนใจอย่างการนำไปใช้ในงานด้านการขนส่ง เช่น

  • ใช้ตรวจสอบตำแหน่งเส้นทางการขนส่งของรถ ว่าวิ่งตามเส้นทางที่ระบุเอาไว้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของธุรกิจเองที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งของต่างๆ ยังคงถูกขับส่งไปตามเส้นทางปกติ ไม่ได้มีปัญหาอะไรให้ต้องเป็นกังวลใจ หรือแม้จะวิ่งออกนอกเส้นทางจริงระบบยังสามารถรับรู้ได้ว่าตอนนี้สิ่งของไปอยู่ตรงไหนกันแน่ ง่ายต่อการติดตามค้นหา
  • ตรวจสอบระดับความเร็วได้ชัดเจน หากวิ่งเร็วเกินไป ช้าเกินไป จะได้ไม่มีข้ออ้างต่างๆ เวลาส่งของถึงล่าช้าหรือเกิดเหตุไม่คาดฝันต่างๆ ขึ้น ช่วยให้งานเป็นไปอย่างเรียบร้อยปลอดภัย ไม่ต้องกังวล
  • ช่วยป้องกันกรณีรถหายได้อย่างแม่นยำ เพราะรถที่มีระบบเหล่านี้เมื่อออกนอกเส้นทางหรือสูญหายไปจะทำให้รู้ว่ารถอยู่บริเวณใด การตามหาง่ายมากขึ้น ไม่ต้องเหนื่อยกับการคาดเดาที่รู้ว่าแท้จริงแล้วรถไปอยู่ส่วนไหนของพื้นที่กันแน่
  • สำหรับบางบริษัทที่มีการจัดการยอดเยี่ยมช่วยในเรื่องของการระบุประวัติการใช้งานของรถยนต์ ปริมาณน้ำมันที่ใช้ไปเพื่อคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยังสามารถวางแผนล่วงหน้าในการใช้งานรถได้อีกด้วย
  • ช่วยบอกถึงเวลาในการทำงานของรถยนต์ได้ชัดเจน โดยเฉพาะบางบริษัทที่ให้พนักงานนำรถกลับบ้านไปได้ชั่วคราวเพื่อจะได้รู้ว่ามีการแอบนำรถไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่
  • กรณีเป็นรถบรรทุกที่มีห้องทำความเย็น การใช้งานระบบนี้ยังสามารถตรวจวัดอุณหภูมิความเย็นเพื่อให้สิ่งของที่อยู่ภายในยังคงพร้อมสำหรับการขนส่ง ไม่เกิดปัญหาของเน่าเสียเมื่อไปถึงปลายทางแบบที่เคยชอบเกิดกับหลายๆ บริษัทที่ไม่รู้ว่าระบบอุณหภูมิภายในห้องเย็นเกิดปัญหาจนของไปถึงมือลูกค้าไม่สด ไม่ดี นอกจากเสียเวลาในการขนส่งแล้วยังเสียภาพลักษณ์ดีๆ ของการทำงานอีกด้วย

GPS Tracking ที่มี GPRS เป็นหัวใจหลัก

ทุกวันนี้การใช้งานตัว GPS Tracking จะมีด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบเสียเงินแบบรายเดือนกับระบบซิมการ์ด เอาไว้ใช้ทำงานร่วมกับสัญญาณมือถือหรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ตรงนี้เองที่ GPRS จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมาก สามารถแยกความน่าสนใจของการทำงานออกมาได้ดังนี้

  • GPS Tracking แสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ เป็นการแจ้งผ่านเว็บหรือแอพฯ จากผู้ให้บริการเพื่อสามารถติดตามดูตำแหน่งได้แบบเรียลไทม์
    อย่างไรก็ตามต้องแบกรักกับภาระที่สูงตามด้วยในเรื่องค่าใช้จ่าย แถมต้องเสียค่าบริการรายเดือนกับผู้ให้บริการด้วย
    นั่นทำให้การใช้งานลักษณะนี้ดังกล่าวไปคือใช้สำหรับเชิงพาณิชย์มากกว่า แถมยังมีการใช้งานฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย
  • GPS Tracking แส่ดงตำแหน่งกึ่งเรียลไทม์หรือไม่เรียลไทม์ ส่วนมากใช้การแจ้งเตือนผ่าน SMS
    จุดเด่นคือราคาถูกมากเมื่อเทียบกับแบบแรก ไม่มีค่าบริการรายเดือน การใช้งานแบบนี้นิยมใช้งานกับรถยนต์ส่วนตัว มอเตอร์ไซค์
    ซึ่งจุดประสงค์จริงๆ อาจต้องการแค่แจ้งเตือนเวลารถหาย หรือรถออกนอกเส้นทางแปลกๆ ทั้งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เป็นต้น

นี่คือเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ GPRS เป็นเรื่องราวความน่าสนใจดีๆ ที่นำมาฝากกันสำหรับคนยุคใหม่ที่ยังคิดอยู่ว่า GPRS กับ GPS มันคือหลักการใช้งานเดียวกันอยู่

เมื่ออ่านจบแล้วคงพอจะทำให้รู้ทันทีว่า GPRS คืออีกเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นมาจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีหลายส่วน

GPRS อาจไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดในโลกแต่ถ้าเราไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากตรงนี้เลยทุกวันนี้ คงไม่เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ไร้ความสะดวกสบายเหมือนได้รับอย่างทุกวันนี้แน่นอน

อยากทราบระบบ GPS Tracking พร้อมระบบจัดการยานพาหนะรอบด้าน ทั้งความปลอดภัย การดูแลคุณภาพสินค้า มาตรฐานการทำงาน และที่สำคัญการลดต้นทุนธุรกิจ ติดต่อคาร์แทรค 02-136-2929 หรือคลิกกรอกข้อมูล ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับฟรีที่ปุ่มด้านล่างนี้

GPRS คืออะไร ต่างกับ GPS ยังไง มาทำความรู้จักกับ GPRS อย่างละเอียด ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้หรือคาดไม่ถึงกัน!