
เข้าหน้าฝนทีไร กรุงเทพฯ และหลายจังหวัดก็เปลี่ยนจากถนนเป็นคลองกันหลายพื้นที่ ระยะหลังแค่ฝนตกหนักแป๊บเดียวก็เป็นแล้ว สำหรับรถถ้าจอดอยู่กับที่ก็ไม่ต้องกังวล ถ้าวิ่งๆ อยู่ ก็อาจจะหลบไม่ทันแล้วกลายเป็นว่าต้อง ขับรถลุยน้ำ อย่างช่วยไม่ได้
บทความ คาร์แทรค ตอนนี้ เลยชวนดู 6 เทคนิค ขับรถลุยน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำขัง หรือน้ำรอการระบาย แบบไม่ต้องดับเครื่อง เครื่องไม่พัง ให้ถึงบ้านถึงที่หมายได้ปลอดภัยที่สุด
1. ปิดแอร์ในรถ
เมื่อขับรถไปเจอน้ำท่วมขังข้างหน้า ให้รีบปิดแอร์ในรถก่อนเลยอย่างแรก เพื่อให้พัดลมหยุดทำงาน ไม่ตีน้ำจากพื้นถนนเข้ามา
เพราะหากน้ำท่วมถึงพัดลมแอร์จริงๆ การที่พัดลมตีน้ำเข้ามาจะโดนบริเวณส่วนไฟฟ้าของรถ ทำให้เกิดการช็อตและเครื่องยนต์ดับได้
2. รักษาระยะห่างจากรถคันอื่น
รักษาระยะห่างจากรถคันหน้าและรถคันหลังไว้ให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะระบบเบรกรถที่แช่น้ำนานๆ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ต่ำลง
การมีระยะห่างจากรถคันหน้า ยังช่วยให้รถของเราปลอดภัยมากขึ้นด้วย เพราะเรามองไม่เห็นสภาพถนนด้านหน้าเลย อย่าเสี่ยงด้วยตัวเองจะดีที่สุด
3. ลดความเร็วรถ
ขับรถให้ช้าลง อย่าเร่งรีบเพื่อให้ไปถึงที่หมาย เพราะสัญชาตญาณของคุณจะบังคับให้ตัวเองขับรถลุยน้ำท่วมไปถึงจุดหมายให้เร็วที่สุดอยู่แล้ว
จึงไม่จำเป็นต้องเร่ง ซึ่งเสี่ยงจะเกิดอันตรายมากขึ้นมากกว่า ให้ขับรถช้าลงแล้วรักษาความเร็วให้คงที่ ไม่ขับรถช้าๆ เร็วๆ ไม่จอดแช่โดยไม่จำเป็น และไม่ขับใกล้รถคันอื่น
4. ใช้เกียร์ต่ำ
เพื่อประคองเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ ในสภาพการขับขี่ที่พร้อมจะดับเครื่องยนต์ของรถอยู่ตลอดเวลา
หากเป็นรถยนต์เกียร์ออโต้ ให้เปลี่ยนไปใช้เกียร์ L ส่วนรถยนต์เกียร์ธรรมดา ให้ใช้เกียร์ 1 หรือ เกียร์ 2
5. เหยียบเบรกย้ำๆ เมื่อขับพ้นเขตน้ำท่วมแล้ว
เมื่อขับรถมาถึงพื้นที่แห้งและปลอดภัยแล้ว ให้เหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อไล่น้ำขังที่ติดมาออกจากผ้าเบรก
6. ไม่ดับเครื่องทันทีที่ถึงที่หมาย
เมื่อขับรถถึงที่หมายแล้ว ให้ติดเครื่องยนต์ไว้สักพัก เพื่อให้เครื่องยนต์ที่ทำงานร้อนๆ ช่วยไล่น้ำและความชื้นที่ค้างอยู่ออกจากเครื่องยนต์

ขับรถมาถึงจุดหมายปลอดภัยแล้ว ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ ผู้ใช้รถหรือเจ้าของรถ ต้องเช็ครถที่เพิ่งลุยน้ำเรื่องไหนบ้าง
เช็คอะไรบ้างหลัง ขับรถลุยน้ำ ?
A. ภายในห้องโดยสารรถ
น้ำบนถนนอาจจะเข้ามาขังในรถโดยที่เราไม่รู้ตัว ให้เช็คพรมหรือพื้นห้องโดยสารว่าเปียกๆ ชื้นๆ หรือไม่
ถ้ารถชื้นๆ เป็นไปได้ว่าน้ำอาจจะเล็ดเข้ามาจริงๆ ควรส่งรถเข้าอู่ล้างรถ เพราะการปล่อยให้ภายในรถแห้งอาจจะไม่พอ
และเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา ซึ่งจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ขับขี่ รวมถึงสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์ในระยะยาวได้
B. ภายในถังน้ำยา
หากขับรถลุยน้ำท่วมที่สูงมาก เป็นไปได้ที่น้ำจะเข้าไปถึงเครื่องยนต์และไปปนเปื้อนน้ำยาหรือน้ำมันของเครื่องยนต์ได้
วิธีการให้เปิดฝาและดึงแท่งน้ำยาออกมา เพื่อเช็คสภาพน้ำยา ถ้าสีแสดงความผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือออกนมๆ ขาวๆ เป็นไปได้ว่าน้ำยาปนเปื้อนสิ่งสกปรกแล้ว
หากเป็นเช่นนั้นให้นำรถเข้าอู่ และแจ้งอาการที่พบ แนะนำว่าอย่าขับต่อ เพราะน้ำยาที่ปนเปื้อนจะเข้าไปทำลายเครื่องยนต์มากกว่าเดิม
C. ฟิลเตอร์แอร์
ถ้าฟิลเตอร์แอร์เปียกหรือดูเปียกแฉะ ให้เปลี่ยน และอาจจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องด้วย
D. ใต้ท้องรถ
รถอาจจะขับผ่านโคลนตม หญ้า หรือขยะที่ลอยเต็มถนนที่น้ำท่วมได้ และสิ่งปฏิกูลเหล่านี้อาจจะเข้ามาติดข้างใต้ท้องรถได้
E. ระบบเบรกและช่วงล่าง
น้ำและสิ่งสกปรกสามารถเข้าไปกีดขวางการทำงานของอะไหล่ ให้ไม่เต็มประสิทธิภาพได้ แนะนำให้ส่งรถเข้าอู่เช็คดีกว่า
F. ระบบไฟ
เปิดไฟทุกดวงของรถและเช็คว่า ให้ความสว่างได้ดีหรือไม่ หากมีเซนเซอร์หรือกล้องท้ายรถ ให้เช็คด้วยเช่นกันว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่
G. เสียงแปลกๆ
ถ้ารถคุณมีเสียงแปลกๆ เวลาติดเครื่องยนต์ ให้รีบนำรถเข้าอู่โดยด่วน เพราะนั่นเป็นสัญญาณความผิดปกติของรถที่ชัดเจนที่สุดแล้ว

ไม่มีใครอยาก ขับรถลุยน้ำ แต่หากสุดวิสัย กลับรถไม่ทัน หรือจำเป็นต้องใช้เส้นทางนั้นจริงๆ เพื่อไปให้ถึงที่หมาย ก็ลองใช้วิธีที่แนะนำนี้ แชร์ต่อไปให้คนใช้รถทุกท่านปลอดภัยทั่วหน้ากันด้วย
ติด GPS รถ ระบบบริหารจัดการยานพาหนะสำหรับธุรกิจขนส่ง โลจิสติกส์ ธุรกิจที่ต้องดูแลจัดการรถจำนวนมาก พร้อมบริการดูแลความปลอดภัยรถ 24 ชม. ทุกวัน
โทรหาเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเลือกระบบที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณที่ 02-136-2929 ในเวลาทำการ หรือคลิกกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่ง : เพจ DLT