BLOGS

วิธีการยับยั้งอารมณ์ ลดการทะเลาะวิวาท บนท้องถนน

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ทำไมจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันบนท้องถนน

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง หรือการทะเลาะวิวาทบนท้องถนน อาจมีสาเหตุมาจาก:

1) ความกดดันจากสภาพจราจร

สภาพการจราจรติดขัดทำให้เกิดภาวะเร่งรีบ ตรงนี้เองที่ทำให้ผู้ขับขี่อารมณ์เสียจนเกิดการทำร้ายร่างกายได้ง่าย จากบทความวิชาการ เรื่อง การทะเลาะวิวาทจากการขับขี่บนท้องถนน เขียนโดย นายอภิชา ฤธาทิพย์ นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ สำนักพัฒนาสุขภาพจิต แสดงให้เห็นว่า การทำร้ายร่างกายในกรณีดังกล่าว เกิดขึ้นในเมืองมากกว่าในต่างจังหวัด และอาจเป็นไปได้ว่าเพราะในเมืองมีสภาพการจราจรติดขัดมากกว่า

2) อุบัติเหตุ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยเปิดเผยถึงอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดการทำร้ายร่างกายบนท้องถนน โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำผิดกฎจราจร เช่น การไม่ยอมให้รถที่มีสิทธิ์ไปก่อน การขับรถตัดหน้าหรือขับตามในระยะกระชั้นชิด ขับรถแซงผิดกฎหมาย คร่อมเลน ขับผิดช่องทาง ส่วนเรื่องเมาสุราหรือเมาสารเสพติดขณะขับรถนับเป็นสาเหตุท้าย ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

3) การสูญเสียความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ

กรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่าการทะเลาะวิวาทบนท้องถนนเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ อุบัติเหตุและความโกรธจนขาดสติยับยั้งชั่งใจ โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความโกรธมากกว่าอุบัติเหตุ มาดูกันว่าอาการโกรธจนขาดสติเกิดจากอะไร

  • เกิดจากการเลียนแบบ หรือ การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม คนปกติธรรมดาเวลานั่งรถแล้วเห็นคนขับฉุนเฉียวเป็นประจำทุกวัน สิ่งเหล่านี้จะซึมซับ ทำให้เขาเป็นคนฉุนเฉียวขณะขับรถตามไปด้วย นอกจากนี้การที่คนขับรถมีคนนั่งข้างที่อารมณ์ฉุนเฉียวด่าทอผู้ขับขี่คนอื่นเป็นประจำ นานวันเข้าเขาก็จะซึมซับจนกลายเป็นรับเอาความฉุนเฉียวแบบนั้นมาเป็นบุคลิกของตนเอง
  • การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูเด็กด้วยการดุ ด่า ตี หรือทำร้ายเด็ก สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทของเด็กให้เลือกแสดงออกมาว่าจะสู้หรือหนี หากเด็กเลือกที่จะสู้ (โดยมากจะเป็นเด็กผู้ชาย) เขาจะกลายเป็นคนก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว ระงับความโกรธไม่ได้ เมื่อเหตุการณ์บางอย่างบนท้องถนนเข้ามากระทบเขา สมองของเขาจะประเมินสถานการณ์นั้นว่าเป็นสถานการณ์ที่เขาจะต้อง ‘สู้’ จึงเกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นในที่สุด

วิธีการยับยั้งอารมณ์เพื่อลดการวิวาทบนท้องถนน

บทความนี้ขอก้าวข้ามวิธีการยับยั้งอารมณ์พื้นฐานประเภทหายใจเข้าหายใจออก หรือนับ 1-10 แต่จะขอกล่าวถึงความคิดและกระบวนทัศน์ที่จะช่วยให้คุณระงับความโกรธลง อันเป็นการป้องกันการทะเลาะวิวาทได้เป็นอย่างดี

1) ทุกคนทำดีที่สุดในทุกสถานการณ์

ไม่ว่าใครจะขับรถอย่างไร ขอให้คุณนึกในใจว่า เขาทำดีที่สุดในสถานการณ์ที่เขาเป็น เพราะคุณไม่ได้อยู่ในสถานการณ์อย่างเขา คุณถึงรู้สึกว่าการกระทำของเขาอาจขัดหูขัดตาไปบ้าง แต่ถ้าหากคุณตกอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับเขาแล้ว คุณก็อาจทำแบบเขาเช่นกัน

2) คนที่กำลังโมโหเป็นคนน่าสงสาร

ขอให้คุณระลึกไว้เสมอว่า คนโมโหคือคนน่าสงสาร เพราะเขากำลังคิดว่าตัวเองถูกคุกคาม และไม่รู้วิธีแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อสิ่งที่เขากำลังคิดว่าเป็นภัยคุกคามนั้น คนที่โมโหก็เหมือนกับคนที่จุดไฟเผาตัวเองเพื่อลนให้คนอื่นร้อนตาม แต่คนอื่นจะร้อนด้วยเปล่าก็ไม่รู้ ที่แน่ ๆ ตัวเขาน่ะ มอดไหม้ไปแล้ว

ดังนั้นคนที่โมโหจึงเป็นคนที่น่าสงสารมาก ในทางตรงกันข้ามวีรบุรุษที่แท้จริง คือคนที่รู้จักใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์ รู้จักแยกแยะถูกผิด และยิ่งจะเป็นวีรบุรุษมากขึ้น ถ้าเขากล้าที่จะพูดคำว่าขอโทษ ที่คุณอยากเป็นคนที่น่าสงสารหรือเป็นวีรบุรุษ คงตัดสินใจได้ไม่ยาก

3) เราไม่มีหน้าที่ตัดสินว่าใครทำผิดกฎจราจร

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทบนท้องถนน คือการไม่เคารพกฎจราจร ต้องยอมรับว่ามีหลายคนที่รู้สึกหงุดหงิดเมื่อเห็นคนอื่นไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยอาจจะรู้สึกว่าคนที่ไม่ทำตามกฎจราจรนั้นคือคนผิด อันที่จริงแล้ว การที่ใครเขาจะฝ่าไฟแดง แซงซ้าย หรือขับไม่มีระเบียบวินัย มันก็ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับคุณสักนิด โปรดระลึกไว้เสมอว่า คุณไม่มีหน้าที่ตัดสินว่าใครทำผิดกฎจราจร แต่คุณมีหน้าที่ทำตัวเองให้ถูกกฎเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

4) ใครปล่อยวางก่อนเจริญกว่า

ก่อนที่คุณจะเงื้อหมัดชกใคร ขอให้คุณระลึกไว้ว่า คุณไม่ได้กำลังทำร้ายคนอื่น แต่คนกำลังทำลายอนาคตของตัวเอง คุณอาจถูกดำเนินคดีข้อหาทำร้ายร่างกาย ต้องนอนในห้องขังของโรงพัก ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล หรือถ้าหากไม่ถึงขั้นนั้น เชื่อไหมว่าแค่โมโห 1 นาที ก็ทำให้คุณหงุดหงิดไปตลอดทั้งวันได้แล้ว แทนที่คุณจะเอาเวลามาพัฒนาตัวเอง หรือทำมาหากิน กลับกลายเป็นว่าคุณทำลายอนาคตของตัวเองลงไปอย่างน้อยก็หนึ่งวัน ด้วยการนั่งหัวเสียนี่ละ

ทัศนคติของคนเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาแค่ 1-2 วัน แต่ถ้าหากคุณตั้งใจจะเป็นคนที่ดีกว่า คุณควรฝึกวิธีคิดทั้ง 4 ข้อนี้เป็นประจำทุกวัน แล้วอัตราการทะเลาะวิวาทบนท้องถนนสำหรับคุณจะเป็น 0 อย่างแน่นอน

เพราะอะไรจึงเกิดการชกต่อยกันบนท้องถนน ทำไมจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันบนท้องถนน ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง หรือการทะเลาะวิวาทบนท้องถนน