BLOGS

รวมมิตรจัดระเบียบ รถโดยสารสาธารณะ ปี 2561

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

การปรับขึ้น ค่ารถโดยสารสาธารณะหรือค่ารถเมล์

ในส่วนของค่ารถโดยสารสาธารณะได้อาศัยความร่วมมือกับองค์กร คือ “สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” หรือ TDRI ในการวิจัยการปรับค่าโดยสารเสียใหม่ โดยจะใช้หลักการค่อยเป็นค่อยไป และต้องการสร้างทัศนคติที่ดี และความเชื่อมั่นใหม่แก่ประชาชนคนกรุงเทพ ด้วยการจะขึ้นค่ารถโดยสารสาธารณะ เฉพาะที่ได้ผ่านมาตรฐานจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

ทั้งนี้ จะดำเนินการทั้งในส่วนของรถทางการ คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ รถเมล์ ขสมก.และรถของบริษัทเอกชนที่มาร่วมให้บริการ หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “รถร่วม” โดยจะมีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นรถโดยสารสาธารณะเก่า ก็จะคิดค่าโดยสารในอัตราเดิม หรืออาจต้องใช้งบประมาณจัดสรรจากส่วนกลาง หรือ รัฐบาล มาช่วยสนับสนุนหรืออุดหนุนค่าโดยสาร อย่างที่หลายประเทศในโซนยุโรปทำกันอยู่

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ ที่ค่ารถโดยสารสาธารณะระบบไฟฟ้าและระบบไฮบริด HYBRIDจะมีค่าโดยสารเก็บที่ราคา 12 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 บาท ส่วนรถโดยสารสาธารณะที่ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี NGV ที่มีอยู่ 100 คัน จะให้เริ่มปรับค่าโดยสารรถเมล์เพิ่มอีกระยะละ 2 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2561

เรื่องของรถตู้เอกชน

สำหรับการดูแลบริการด้านรถตู้เอกชน ซึ่งเป็นรถโดยสารสาธารณะอีกประเภทที่คนนิยมใช้บริการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง “ต่อเดียว” หรือ ต้อง “ต่อรถ” ทั้งในและระหว่างจังหวัด ก็เรียกได้ว่า ได้ใช้บริการผูกพันกันมานับสิบปีเลยทีเดียว

ขณะนี้ ก็ถึงเวลาแล้ว เมื่อ 1 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ที่ รถตู้เหล่านี้จะมีอายุครบ 10ปี นับจากเริ่มวิ่งใช้งาน เนื่องจากถือว่าเป็นรถที่สึกหรอและเสี่ยงต่ออุบัติภัยสูง ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้วิ่งเป็นรถโดยสารสาธารณะเพื่อให้บริการแก่ประชาชนอีกต่อไป ทั้งนี้ ทาง ขสมก. ได้เตรียมรถโดยสารสาธารณะแบบปรับอากาศ หรือที่คุ้นกันว่า รถแอร์ สำหรับให้บริการชดเชยรถตู้ที่หมดอายุไปก่อน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และลดผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนมากที่สุด

โดย ทางการฯ ได้วางแผนเส้นทางวิ่งรถให้บริการชดเชยนี้เป็น 6 สาย และตั้งใจจะใช้อัตราค่าบริการเดียวกันกับที่ประชาชนเคยใช้บริการรถตู้ โดย 6 เส้นทางที่เตรียมไว้ คือ

  1. เส้นมีนบุรี-สวนจตุจักร (10 คัน)
  2. สายมีนบุรี-ย่านปากเกร็ด นนทบุรี (10 คัน)
  3. สายมีนบุรี – บริเวณห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต หรือ ZPELL (10 คัน)
  4. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ฟิวเจอร์ฯ รังสิต (20 คัน มากกว่าจุดอื่น ๆ )
  5. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (10 คัน)
  6. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-เมืองทองธานี (5 คัน)

ทั้งนี้ ทางการฯ ยังกำชับเรื่องกฎระเบียบให้เปลี่ยนชนิดของรถตู้จากเดิม เป็นรถมินิบัส หรือ รถโดยสารสาธารณะขนาดเล็ก นั่งได้ไม่เกิน 20 ที่ โดยมีกำหนดขีดเส้นตายให้เปลี่ยนเป็นมินิบัสภายใน กันยายน 2562

ด้านความเข้มงวดกับรถโดยสารสาธารณะกลุ่มแท็กซี่

หลายคนอาจไม่ทราบว่า รถโดยสารสาธารณะกลุ่มแท็กซี่ TAXI หากจดทะเบียนครบ 9 ปี จะต้องสิ้นสุดการใช้งาน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย (แบบเดียวกับประเด็นเรื่องรถโดยสารสาธารณะประเภทรถตู้ นั่นเอง)

เนื่องจากมีการเก็บสถิติล่าสุด ถึงกลางปี 2561 พบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายจากผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะประเภทแท็กซี่ตัวเลขสูงถึง 2 หมื่นกว่าคัน โดยแบ่งได้เป็น รถที่แอบอ้างมาขับขี่รับส่งผู้โดยสารทั้งที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้วถึง 1 พันกว่าคัน รวมถึงยังพบปัญหาการแอบอ้างใช้รถที่ไม่ผ่านการจดทะเบียนมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบก ได้กำชับผ่านสื่อว่าจะมีมาตรการการตรวจตราที่เข้มงวดและปรับเงิน หรือลงโทษตามที่ระเบียบหรือข้อกฎหมายกำหนด โดยจาก พรบ.รถยนต์ 2522 มาตรา 6 วงเล็บ 1 ได้กล่าวถึงโทษไว้ว่า การนำรถโดยสารสาธารณะที่หมดอายุมาใช้งานในฐานะแท็กซี่รับส่งผู้โดยสารหารายได้ จะต้องมีโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และต้องถูกปลดป้ายทะเบียนรถออกในทันทีด้วย

กรมการขนส่งทางบก ได้แนะนำเทคนิคสำหรับประชาชนในการสังเกตรถโดยสารสาธารณะกลุ่มแท็กซี่ ว่าต้องดูที่หมวดตัวอักษรของป้ายทะเบียน ซึ่งทะเบียนที่จะหมดอายุการใช้งานในปีนี้ (อายุครบเกณฑ์ในปี 2561) คือ รถแท็กซี่ที่ขึ้นต้นทะเบียนด้วยตัวอักษร ทว และ มฉ (ต้องระวังว่าใกล้จะหมดอายุรถแล้ว หรือรถอาจเสื่อมสภาพมากแล้ว) ส่วนรถที่หมดอายุไปแล้ว มีตั้งแต่ หมวดที่ขึ้นต้นด้วย ทจ ทฉ มก มข เป็นต้น

ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลหรือร้องเรียนหากพบสิ่งผิดปกติได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ได้ที่  http://ins.dlt.go.th/cpweb/ หรือ ติดต่อทางเฟสบุ๊ค 1584 และโทรสายด่วน 1584 ได้ตลอด 24 ชม.

ด้านรถมอเตอรไซด์รับจ้าง

พบว่ามีปัญหาในการแอบอ้างนำรถมอเตอร์ไซค์ส่วนตัวมารับส่งผู้โดยสาร โดยไม่ผ่านการลงทะเบียนให้ถูกต้อง ถึงกว่า 1 แสนคัน ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ และเกิดการแข่งขันในตลาดอาชีพที่ทำให้หลายฝ่ายไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำให้ทางการขนส่งทางบกได้สั่งรัดเข็มขัดกระชับมาตรการ ให้รถมอเตอร์ไซค์มาลงทะเบียนให้ถูกกฎหมายเรียบร้อยภายใน 31 สิงหาคม 2561

จะเห็นได้ว่า รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในปัญหาความปลอดภัยของประชาชน ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ จึงขอให้ทุกภาคฝ่ายที่ทำงานเกี่ยวข้องทำหน้าที่อย่างดีที่สุด และหากประชาชนพบปัญหาในการใช้งานรถโดยสารสาธารณะก็สามารถร้องเรียนได้ตามช่องทางสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชม.

ในปี 2561 กรมการขนส่งทางบก หรือ ขบ. ได้พัฒนาปรับปรุงจัดระเบียบรถโดยสารสาธารณะ เพื่อการบริการประชาชน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีอยู่ 4 ประเด็น