BLOGS

รถกี่ปี ก็ต่อภาษีรถยนต์ง่าย ๆ ปี 2561

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

หากผู้ที่ขับขี่เตรียมพร้อมจะต่อภาษีรถยนต์เสียแต่แรกเริ่ม ช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต่อภาษีรถยนต์ได้นั้นคือ ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน

การต่อภาษีรถยนต์หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ในภาษาทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องคำนึงถึง เมื่อครบกำหนดก็จะต้องรวบรวมเอกสารและเตรียมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไว้เพื่อไปดำเนินเรื่องกับทางการฯ ไม่ให้ขาดตก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทะเบียนขาดหรือค้างภาษีฯ ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าปรับตามมา และทำให้เสียเวลาอีกหลายรอบ

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ขับขี่รถมาหลายปีหรือผู้ที่มีรถหลายคัน หรือทำเต็นท์รถ คงจะเรียกได้ว่าเป็นกูรูที่ชำนาญในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ แต่สำหรับนักขับขี่รถยนต์มือใหม่ เจ้าของรถป้ายแดงหมาด ๆ อีกจำนวนไม่น้อยก็อาจยังไม่เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงยังไม่ทราบอัตราภาษีรถยนต์ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

เรามาดูกันว่า กูรูทางด้านการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ ได้ให้คำแนะนำไว้อย่างง่าย ๆ อย่างไร เพื่อให้ผู้ขับขี่รถมือเก๋าและมือใหม่ รถเก่าลายครามหรือรถใหม่ป้ายแดง จะได้มีทะเบียนรถที่ต่อภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

การต่อภาษีรถยนต์ ควรทำทุกปี อย่าให้ขาด

ประเด็นหลักที่ห้ามพลาด คือ การต่อภาษีรถยนต์ ต้องทำเป็นประจำทุก ๆ ปี เปรียบได้กับเทศกาลประจำปีของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถยนต์ ที่ต้องห้ามขาดการติดต่อกับฝ่ายทะเบียน ของกรมการขนส่งทางบก

ทั้งนี้ หากการต่อภาษีรถยนต์มีการขาดอย่างต่อเนื่องไปเกิน 3 ปี จะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ต่อผู้ขับขี่ นั่นคือ จะทำให้ทะเบียนรถคันดังกล่าวถูกระงับ ทำให้ไม่สามารถนำมาขับขี่บนท้องถนนได้อีก เว้นเสียแต่ว่าต้องไปทำการติดต่ออีกหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ทะเบียนใหม่ และแน่นอนว่าต้องมาพร้อมกับค่าธรรมเนียมอีกมากมาย ที่เรียกได้ว่า หากสามารถบันทึกเรื่องการต่อภาษีรถยนต์ไว้ในไดอารี่กิจกรรมประจำปี ก็ควรทำไว้เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ต้องปวดหัว เสียเวลาและเสียเงินส่วนเกินที่จะตามมาจากปัญหาการหลงลืมการต่อภาษีรถยนต์

ทั้งนี้ หากผู้ที่ขับขี่เตรียมพร้อมจะต่อภาษีรถยนต์เสียแต่แรกเริ่ม ช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต่อภาษีรถยนต์ได้นั้นคือ ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน นับจากวันที่ครบกำหนด ซึ่งสามารถเตรียมเอกสารไว้ให้ครบ ดังนี้

  1. เอกสารหรือหนังสือราชการที่แสดงถึงการจดทะเบียนรถยนต์อย่างถูกต้องสมบูรณ์
  2. หลักฐานการมีประกันภัยภาคบังคับ หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า การมีประกันภัยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
  3. มีหลักฐานการตรวจ ตรอ. หรือ ย่อจาก การตรวจสภาพรถเอกชนมาแล้ว (จากกรมการขนส่งทางบก หรือสถานที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ตรวจ ตรอ. ได้ตามกฎหมาย)

หากมีหลักฐานสำหรับยื่นกับทางราชการครบทั้ง 3 ข้อข้ามต้นแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนต่อไป คือการเตรียมเงินให้พร้อมสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย-ค่าธรรมเนียม หรือเรียกว่าค่าอัตราภาษีรถยนต์ซึ่งทางกฎหมายได้ระบุตาม จำนวนซีซีของเครื่องยนต์และจำนวนปี ที่จะคิดราคาลดหลั่นลดลงไปเมื่ออายุของรถยนต์ที่จดทะเบียน เข้าสู่ปีที่ 6

อัตราค่าต่อภาษีรถยนต์

กล่าวคือ รถยนต์เอกชน หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (รถยนต์ทั่วไป) จะมีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง และขนาดซีซี แบ่งได้เป็น 3 ขั้นในการคิดอัตราภาษีรถยนต์ เช่น

ในช่วงปริมาตรความจุของกระบอกสูบ 0- 600 ซีซีแรก จะคิดอัตราภาษีรถยนต์เรท ซีซีละ 50 สตางค์ หรือ 0.50 บาท ต่อมา ซีซีที่ 601 – 1800 ซีซี จะคิดเรทช่วงนี้ ซีซีละ 1 บาท 50 สตางค์ หรือ 1.50 บาท และขั้นสุดท้าย ส่วนเกิน 1800 ซีซีขึ้นไป กฎหมายจะคิดที่ซีซีละ 4 บาท

ดังนั้น ผู้ขับขี่จะต้องพิจารณาให้ดีตั้งแต่ตอนจะซื้อรถยนต์ ว่านอกจะราคารถจะเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการคำนวณดอกเบี้ยเพื่อผ่อนชำระรถยนต์เป็นเวลาหลายปีแล้ว การเลือกรถที่มีความจุกระบอกสูบสูงเกินความจำเป็น แม้จะให้ความสะดวกสบายในการใช้รถ แต่ก็มีค่าอัตราภาษีรถยนต์ที่สัมพันธ์กับ ซีซี ที่มากกว่า 1800 ซีซี ดังที่กล่าวมา และจะเป็นค่าใช้จ่ายอัตรานี้ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง 5 ของการต่อภาษีรถยนต์

การลดหย่อนค่าต่อภาษีรถยนต์

ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่การต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ในปีที่ 6 ขึ้นไป อัตราภาษีรถยนต์จะมีการลดหย่อนลงไป โดยกฎหมายกำหนดให้เรียกเก็บลดลงเหลือ 90 เปอร์เซ็นต์จากค่าใช้จ่ายปกติ (ลดลงไป 10 เปอร์เซ็นต์) ส่วนในปีที่ 7 ก็จะลดลงเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์ (ชำระเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราภาษีรถยนต์ตามเกณฑ์ข้างต้น)

เมื่อเตรียมเอกสารและค่าธรรมเนียมพร้อมแล้ว เพียงรอเวลาให้ถึงในช่วง 90 วันที่จดทะเบียนรถฯ ก็สามารถนำรถยนต์ส่วนตัว ไปติดต่อขอต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดได้ทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบรับรองว่า “ผ่าน” การตรวจสภาพรถ สำหรับใช้ต่อภาษีรถยนต์

หลังจากนั้นก็ชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราภาษีรถยนต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น สุดท้ายก็จะได้รับ “เครื่องหมายสัญลักษณ์” ให้นำไปติดที่กระจกหน้าของตัวรถเพื่อแสดงว่า รถยนต์คันนี้ ได้ผ่านการเสียภาษีรถยนต์มาแล้วอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย และเจ้าของรถยนต์จะได้รับหนังสือราชการแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลด้วย

ในปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบก ได้ปรับปรุงโครงสร้างในหลายส่วนงาน โดยในส่วนที่เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ก็ได้ขยายช่องทางในการรับค่าธรรมเนียมตามอัตราภาษีรถยนต์ทางออนไลน์ คือ www.dlte-serv.in.th เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้รับความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาที่สำนักงานขนส่งจังหวัด รวมถึงสามารถชำระได้ทางจุดที่ผ่านการรับรองให้บริการต่อภาษีรถยนต์อย่างเป็นทางการ เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ทั่วประเทศ

อย่าพลาดโอกาสในการทดลองใช้งาน GPS ฟรี กับ คาร์เเทรค : ทดลองใช้ฟรี !

หากผู้ที่ขับขี่เตรียมพร้อมจะต่อภาษีรถยนต์เสียแต่แรกเริ่ม ช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต่อภาษีรถยนต์ได้นั้นคือ ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน