BLOGS

ประกาศจากกรมขนส่งทางบกเรื่อง การติดตั้ง GPS

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือมนุษย์อำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ทำให้ช่วยลดความยุ่งยาก ความไม่ปลอดภัย หรือช่วยลดระยะเวลาลงได้ เทคโนโลยีก็ยังจะถูกพัฒนาและถูกนำมาใช้ในการกำหนดกำเกณฑ์ของสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ  ยกตัวอย่างเช่น การใช้โทรศัพท์มือถือของผู้คนในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนระบบหน้าจอเป็นระบบ Touch Screen และยังมีฟังก์ชั่นเสริมต่าง ๆ อาทิ กล้องถ่ายรูป การรับรองเครือข่ายระบบที่เปลี่ยนจาก 2G เป็น 3G และฟังก์ชั่นเสริมอีกมากมายที่จะเข้ามามีส่วนเป็นตัวช่วยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น ปัจจุบันนี้แม้แต่ในระบบราชการก็ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในเรื่องของการทำงานให้มีระบบระเบียบมากยิ่ง

ทั้งนี้ที่ผ่านมาเทคโนโลยี GPS เป็นเครื่องมือที่บทบาทในการช่วยผู้ประกอบการในทางธุรกิจมามากพอสมควรไม่ว่าจะเป็นการคำนวณระยะทางที่รถวิ่ง การคำนวณน้ำมันเชื่อเพลิง หรือแม้แต่การติดตามตำแหน่งของรถด้วยเช่นกัน ซึ่งเหตุนี้ทำให้กรมการขนส่งทางบกเห็นได้ถึงความสำคัญของระบบ GPS ที่จะสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหารในระบบการขนส่ง ซึ่งบริหารโดยกรมการขนส่งทางบกควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการข้อมูลของภาคประกอบการ

เพื่อตอบโจทย์ปัจจัยทางด้านการจราจรตลอดจนปัจจัยทางด้านความปลอดภัยโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศชาติในภาพรวม ซึ่งสามารถทำการตรวจสอบยานพาหนะได้มากยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีระบบ GPS มาช่วยทุ่นแรง ทางกรมการขนส่งทางบกจึงได้มีการประกาศ เรื่องการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง (GPS) และกำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ

การเริ่มใช้ GPS อย่างจริงจัง

ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกได้ประกาศให้รถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไปที่จดทะเบียนใหม่ต้องติดตั้ง GPS ทุกคันพร้อมเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถเพื่อติดตาม – กำกับพฤติกรรมการขับรถมุ่งยกระดับความปลอดภัยทางถนนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง โดยอธิบดีกรมการขนส่งทางบกนายสนิท พรหมวงษ์ เปิดเผยว่าจากสถิติอุบัติเหตุรถโดยสารและรถบรรทุกพบว่าเกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถ และการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ

ดังนั้นกรมการขนส่งทางบกจึงได้จัดทำโครงการ “มั่นใจทั่วไทยรถใช้ GPS” เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้ากับศูนย์บริการจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกแบบเรียลไทม์ เช่น ข้อมูลการใช้ความเร็ว ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดของรถ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถติดตามพฤติกรรม ผู้ขับรถ เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้มีการกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภทและรถตู้ (ยกเว้น รถสองแถว, รถหมวด 4 และรถหมวด 1 ภูมิภาค) รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไปต้องไปติดตั้ง GPS ที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานตามประกาศกรมฯ ทุกคัน ในส่วนของรถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันดังกล่าวต้องดำเนินการติดตั้ง เชื่อมโยงข้อมูล หรือแก้ไขเครื่องบันทึกข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดำเนินการต่ออายุทะเบียนรถได้

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรถโดยสารและรถบรรทุกที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 25 มกราคม 2559 กรมการขนส่งทางบก กำหนดระยะเวลาดำเนินการของรถแต่ละประเภทตามความเหมาะสม เพื่อให้เจ้าของรถและผู้ประกอบการขนส่งมีเวลาในการเตรียมการเชื่อมโยงข้อมูล แก้ไขและติดตั้ง GPS ให้เป็นไปตามที่กรมฯ กำหนด ดังนี้ รถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ที่ติดตั้ง GPS ไว้แล้ว ต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริการจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบกภายใน ปี 2559

และสำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยังไม่ได้ติดตั้ง GPS ในส่วนของรถโดยสารสองชั้นกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2559 ส่วนรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ จะต้องดำเนินการติดตั้งให้ครบถ้วนภายในรอบปีภาษี 2560 ส่วนรถลากจูงกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2560 รถบรรทุกสาธารณะภายในรอบปีภาษี 2561 และรถบรรทุกส่วนบุคคลให้ระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในรอบปีภาษี 2562

โครงการ “มั่นใจทั่วไทยรถใช้ GPS” จึงเป็นโครงการสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานเดียวกันโดยนำข้อมูลการเดินทางมาวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเชิงลึกประเมินผลทางด้านวิชาการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน

ซึ่งสามารถนำข้อมูลมายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างมาตรฐานของผู้ขับขี่และเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้รถได้มากยิ่งขึ้น และอาจจะนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญก็คือการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถสาธารณะและยังเป็นประโยชน์การบริหารจัดการการเดินรถ พร้อมลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ

ทั้งนี้จากการประกาศของกรมการขนส่งทางบกทำให้ผู้ประกอบการและหลากหลายภาคส่วนเริ่มตื่นตัวและมองถึงเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีระบบ GPS ที่จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการเดินรถ ทำให้แต่ละหน่วยงานเริ่มทำการติดตั้งระบบ GPS ไว้กับรถเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท อีกประการหนึ่งประชาชนที่ใช้รถโดยสารสาธารณะมีความรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นหากรถที่ตนเองโดยสารนั้นมีการติดตั้งระบบ GPS เพราะเสมือนกับว่าการเดินทางมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยให้ผู้ใช้ด้วย ซึ่งปัจจุบันหากสังเกตให้ดีรถขนส่งหรือแม้กระทั่งรถโดยสารสาธารณะมักจะมีสติ๊กเกอร์กำกับอยู่ท้ายรถว่า “รถคันนี้ควบคุมด้วยระบบ GPS” ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของรถคันดังกล่าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนี้ระบบราชการของไทยพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ให้มีระบบระเบียบมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยี GPS ด้วย