
ธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่ใช่เพียงบริษัทรับขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ธุรกิจโลจิสติกส์ ยังมีบริการอื่นๆอีกมากมายไม่ว่าเป็น การจัดการคลังสินค้า บรรจุหีบห่อ กระจายสินค้า ข้อมูล หรือทรัพยากร ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบที่เป็นที่นิยมอยุ่ในปัจจุบัน คือ รูปแบบ 3PL และ 4PL
รู้จักบริษัทธุรกิจโลจิสติกส์ รูปแบบ 3PL และ 4PL
3PL (Third-party logistics provider)
3PL คือ บริษัท หรือ Outsource ผู้ให้บริการ ‘โลจิสติกส์’ ที่เป็นตัวกลางช่วยทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้าจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาจมีบริการหลายอย่าง เช่น การบริหารคลังสินค้า การขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดการด้าน ศุลกากร และบริการอื่นๆ เป็นต้น
ตัวอย่าง 3PL : บริษัทนิ่มซี่เส็ง ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วประเทศโดยรถบรรทุก และมีบริการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
4PL (Fourth-party logistics provider)
4PL เป็นบริษัท องค์กร ธุรกิจ ‘โลจิสติกส์’ ที่พัฒนารูปแบบมาจาก 3PL โดยเป็นศูนย์กลางประสานงานกับ 3PL รายอื่นๆได้หลายๆราย ซึ่ง 4PLจะเพิ่มการบริการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การจัดการ Supply chain เทคโนโลยีโลจิสตอกส์ และระบบสารสนเทศ โดย 4PL จะมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่ครอบคลุมในระกับภูมิภาค หรือระดับโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ตัวอย่าง 4PL : บริษัท DHL ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วทุกมุมโลกซึ่ง DHL มีเครือข่าย 3PL ในแต่ละประเทศที่ช่วยจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากนั้น DHL ยังมีบริการให้คำปรึกษา กับบริษัทที่ต้องการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการ supply chain ของตัวเอง เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง คลังสินค้า เป็นต้น
สรุปประเด็นสำคัญ
- ผู้ให้บริการโลจิสติกส์อย่าง 3PL ที่เป็นตัวกลางในการดำเนินงาน ไม่จำเป็นต้องถือครองสินทรัพย์มากมาย หากมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่กว้างขวาง
- การที่ 3PL จะพัฒนาไปสู่ 4PL จะต้องสร้างเครือข่ายหาพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถการให้บริการในทุกด้าน
- นอกจาก 4PL จะเป็น One stop service แล้ว..ยังเหมาะกับองค์กรที่ต้องการคำปรึกษา การวางแผนดำเนินงานจัดการ supply chain ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ 3PL เหมาะกับองค์กรที่ต้องการผู้ช่วยทำงานเฉพาะอย่างให้เท่านั้น