BLOGS

การโอนรถยนต์ส่วนบุคคล ปี 2561 ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

สำหรับใครหลายคนที่กำลังได้รับมรดกเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล หรือกำลังจะต้องถ่ายโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของรถเดิมมาเป็นของตัวเองในปี 2561 อาจคิดกังวลว่าการ การโอนรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องใช้เอกสารมากมายและต้องใช้เวลานาน จึงทำให้ยังลังเลใจที่จะต้องหาวันลางานที่ทำงานประจำ เพื่อไปทำกิจธุระนี้

ระบบโอนแบบใหม่เร็วกว่าเดิม

การโอนรถยนต์ส่วนบุคคลในอดีต อาจเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและขั้นตอนตรวจสอบค่อนข้างมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดของบุคลากร เจ้าหน้าที่ และเทคโนโลยีในการรองรับการตรวจสอบข้อมูลเอกสารต่าง ๆแต่ในปัจจุบัน การใช้เวลาในกระบวนการโอนรถฯ ลดน้อยลงมาก

เนื่องจากทางการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบ MDM และที่สำคัญคือตรวจสอบข้อมูลได้ตามช่วงเวลาจริง หรือ REALTIME เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งหน่วยงานราชการที่มีการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย นิยมมาใช้เพื่อรองรับงานบริการประชาชนอย่างฉับไว เช็คข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การโอนรถยนต์ส่วนบุคคลต้องมี การแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ “นายทะเบียน” ว่าต้องการโอนกรรมสิทธิ์จาก นาย ก. ไปให้ นาย ข. (โดยที่มีเงื่อนไขว่ารถยนต์ที่จะโอนหรือเปลี่ยนมือนั้น ต้องเป็นรถที่ผ่านการจดทะเบียนแล้วเรียบร้อยด้วย)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการโอนรถยนต์ส่วนบุคคล

โดยเอกสารที่ต้องใช้ ในการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลที่ต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อความสะดวกรวดเร็ว คือ

  1. หนังสือ “คู่มือจดทะเบียนรถ” เป็นหลักฐานสำคัญที่ขาดไม่ได้
  2. บัตรประชาชนของเจ้าของเดิม หรือ นาย ก. ซึ่งควรสำเนามาให้เรียบร้อย (เอกสารที่ต้องทำสำเนา แนะนำว่าเตรียมมาหลาย ๆ ฉบับก็ได้ เผื่อมีการเซ็นผิดพลาดจะได้ไม่ลำบากหาที่ถ่ายเอกสารใหม่)

แต่ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่เรารับโอนรถยนต์จากคนที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น รถยนต์ของญาติผู้ใหญ่ที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยท่านได้แจ้งความจำนงไว้ว่าจะยกให้เป็นมรดกของลูกหลานคนไหน อย่างนี้ ก็ต้องมี “ใบมรณบัตร” และ หนังสือ “พินัยกรรม” หรือ หนังสือราชการ “คำสั่งศาล”ที่มีข้อความ ที่มีการระบุว่ายกรถยนต์คันนี้ให้ทายาทคนใดหรือยกให้แก่ใคร เป็นต้น

เอกสารที่จะได้รับ เมื่อการโอนเสร็จสมบูรณ์

สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลในปี 2561 เรียกได้ว่ากระชับรวดเร็วมาก เพียงกรอกแบบฟอร์มข้อมูลที่มีเตรียมไว้พร้อมบริการที่ฝ่าย “งานทะเบียน” ของ สำนักงานขนส่ง เมื่อตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็นำรถยนต์คันที่จะโอนนั้น มาตรวจสภาพ ที่ “สำนักงานขนส่ง” ประจำจังหวัด

หากทราบผลตรวจ “ผ่าน” เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ยื่นเอกสารราชการที่เตรียมไว้ทั้งหมด พร้อมกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป ที่ฝ่าย “งานทะเบียนรถ” แล้วรอเพียงครู่เดียวก็จะได้รับเอกสารต่อไปนี้

  1. หนังสือ “คู่มือจดทะเบียนรถ”
  2. “เอกสารยืนยันการชำระเงิน” หรือ ใบเสร็จรับเงิน
  3. “แผ่นป้ายทะเบียนรถ”
  4. “เครื่องหมายเสียภาษี”

เพียงทำตามขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมา และได้รับเอกสาร-แผ่นป้ายต่าง ๆ ครบถ้วน ก็เป็นอันเรียบร้อยตามขั้นตอน

ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์

ในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ว่าประชาชนผู้ใช้บริการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลต้องมีค่าใช้จ่าย 5 หมวด ดังนี้

  1. เงิน 5 บาท สำหรับค่าหนังสือ “คำขอ” ของทางราชการ
  2. เงิน 100 บาท สำหรับ ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ส่วนบุคคล
  3. เงิน สำหรับ “ค่าอากรแสตมป์” ในสัดส่วนที่เพิ่มตามราคาที่มีการประเมินรถไว้ กล่าวคือ “ค่าอากรแสตมป์” 500 บาท ต่อ รถมูลค่า 1 แสนบาท
  4. เงิน 200 บาท สำหรับค่าป้ายทะเบียน กรณีนี้ จะจ่ายเฉพาะผู้ที่ต้องการเปลี่ยนป้ายฯ
  5. เงิน 100 บาท สำหรับค่าทำเล่มทะเบียนใหม่ กรณีที่เล่มทะเบียนชำรุดฉีกขาด-เก่า

ฝากผู้อื่นให้โอนรถยนต์แทนได้หรือไม่?

กรมการขนส่งทางบกแนะนำว่า ไม่ควรฝากคนอื่นทำการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลให้ เพราะมักมีการบวกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากในประกาศ “ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ กรมการขนส่งทางบก” ซึ่งเรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้องฝากคนอื่นมาทำแทนแล้วในยุค 2561 เพราะปัจจุบัน ระบบมีการเชื่อมข้อมูลแบบ MDM และทำงานแบบ REALTIME ดังที่กล่าวข้างต้น ว่าลดระยะเวลาในการโอนรถฯ ไร้กังวลเรื่องการเสียเวลามากอย่างในอดีต

ส่วนการโอนรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันมีความนิยมขับรถตระกูล BIGBIKE มากขึ้น ก็มีกระบวนการคล้ายกัน แค่สลับกันตรงที่ว่าต้องตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ก่อนการกรอกแบบฟอร์มเท่านั้นเอง

“โอนลอย” คืออะไร?

อีกประเด็นหนึ่งที่ยังมีหลายคนนิยมการโอนรถ ด้วยวิธีการที่เรียกทั่ว ๆ ไปว่า “โอนลอย” ซึ่งขออธิบายเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ “โอนลอย” ว่าเป็นการลักษณะที่ว่า เมื่อเจ้าของรถ เช่น นาย เอ ขายรถยนต์ให้ นาย บี แล้ว (รับเงินไปเรียบร้อย) นาย เอ จะลงชื่อ-นามสกุล ในเอกสารโอนรถเรียบร้อย พร้อมให้สำเนาเอกสารราชการต่าง ๆ แก่ นายบี ที่สำคัญ คือ เขียนหนังสือ “มอบอำนาจ” ให้ผู้ซื้อ คือ นายบี ไปดำเนินการต่อเองที่สำนักงานขนส่ง

จะเห็นได้ว่าการ “โอนลอย” ที่ทำกันโดยทั่วไปเช่นนี้ ยังไม่มีการติดต่อหน่วยงานราชการ เป็นการกระทำระหว่างสองฝ่ายเพียงผู้ซื้อ-ผู้ขาย ดังนั้น ถือว่าการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลยังไม่สิ้นสุดสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีการจดทะเบียนโอนให้เสร็จสมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งการโอนลอย ดูเหมือนว่าจะให้ความสะดวกจึงทำให้คนส่วนใหญ่ เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ ทำการซื้อขายกันเองแบบโอนลอย

แต่มีการเก็บสถิติพบว่า มีปัญหาใหญ่ที่มักเกิดตามมา คือ ปัญหาการสวมทะเบียนรถยนต์ปลอม ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหายและมีผลทางกฎหมายที่ต้องดำเนินการอีกมากตามมา นอกจากนี้ยังมีปัญหา บัตรผู้ขายหมดอายุแล้ว ทำให้ผู้ซื้อต้องยื่นเอกสารใหม่อีกรอบ

นอกจากนี้ หากผู้ซื้อ (นายบี) ไม่ไปทำการโอนให้เรียบร้อยหลังการซื้อขาย (ที่ไม่เป็นทางการนั้น) และที่สำคัญคือยังไม่ไปต่อภาษี ก็จะทำให้เกิดการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายและเป็นประวัติการค้างต่อภาษี ในชื่อของนายเอ อยู่นั่นเอง จะเห็นได้ว่าควรดำเนินการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลด้วยตัวเอง จะมีความเสี่ยงในการเจอปัญหาน้อยที่สุด ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ของกรมการขนส่งทางบก ในปี 2561 จึงช่วยอำนวยความรวดเร็วมากขึ้นอย่างแน่นอน

สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในการ โอนรถยนต์ส่วนบุคคล เรียกได้ว่ากระชับรวดเร็วมาก เพียงกรอกแบบฟอร์มพร้อมบริการที่ฝ่าย “งานทะเบียน” ของ สำนักงานขนส่ง