• Thailand Flag
  • (66) 2 136 2920 | ติดต่อเรา
English
เข้าสู่ระบบ
Cartrack LogoCartrack LogoCartrack LogoCartrack Logo
  • บทความและข่าวสาร
  • คำถามที่พบบ่อย
  • เกี่ยวกับบริษัท
  • นักลงทุนสัมพันธ์

เข้าเกียร์ยาก จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

12 November 2018
เข้าเกียร์ยาก

เข้าเกียร์ยาก ปัญหากวนใจ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร - คาร์แทรค

ขอใบเสนอราคาโทรเลย
(66) 2 136 2920

หรือ กรอกรายละเอียดของคุณเพื่อให้เราโทรกลับไป


เกียร์รถยนต์ เป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ เป็นตัวกำหนดความเร็วรอบ เพื่อให้เครื่องยนต์ตอบสนองและขับเคลื่อนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง เกียร์ทั้งสองประเภทที่เรารู้จักกันดีคือ เกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานเกียร์นั้นก็เหมือนอุปกรณ์หรือส่วนอื่นๆของรถยนต์ ที่อาจจะเกิดปัญหาได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงอาการ เข้าเกียร์ยาก และวิธีการแก้ไขต่างๆให้ได้ทราบกัน

 

สาเหตุที่ทำให้เกียร์ปรับได้ยาก

  • ระบบคลัตช์มีปัญหา คลัตช์คืออุปกรณ์ที่ทำงานควบคู่ไปกับเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์จะต้องทำไปพร้อม ๆ กับการเหยียบคลัตช์เพื่อตัดกำลังจากเครื่องยนต์เข้าสู่เกียร์ ซึ่งหากระบบคลัตช์มีปัญหาก็จะทำให้การตัดกำลังทำได้ยาก ส่งผลให้เข้าเกียร์ยากหรือมีช่วงสะดุดในระหว่างการปรับเกียร์ได้
  • น้ำมันเกียร์มีปัญหา น้ำมันเกียร์เกิดการรั่วซึมสามารถเกิดได้ใน 2 บริเวณคือบริเวณซีลหน้าเครื่อง หรือซีลท้ายเครื่อง (กรณีรถเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหลัง) และซีลเพลาขับบริเวณเสื้อเกียร์ทั้งด้านซ้ายและขวา (กรณีรถเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า) สาเหตุที่ทำให้ซีลรั่วมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือปัญหาจากการทำงานช่างที่ให้บริการ
  • ท่อหายใจของห้องเกียร์อุดตัน (Breather) ภายในห้องเกียร์ในขณะที่เกียร์กำลังทำงานมักเกิดความร้อน ทำให้น้ำมันเกียร์ที่ใช้หล่อลื่นกลายเป็นไอระเหยที่ต้องระบายออกทางท่อหายใจ แต่หากท่อหายใจตัน ไอระเหยของน้ำมันก็จะหาทางออกไปข้างนอกไม่ได้ เกิดเป็นความร้อนสะสมที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเกียร์ได้ ซึ่งสาเหตุที่ท่อหายใจตันนั้น ก็มาจากการนำรถไปลุยน้ำลุยโคลนแล้วสิ่งสกปรกเข้าไปตกค้างอุดตัน หรือจากการดูแลรักษาที่ไม่เพียงพอ
  • ฟันเฟืองภายในระบบเกียร์ชำรุด การทำงานของระบบเกียร์จำเป็นต้องใช้ฟันเฟืองหลายชิ้นเพื่อทดกำลังเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฟันเฟืองต่าง ๆ เหล่านี้หากใช้งานไปนาน ๆ ย่อมเกิดลักษณะการสึกหรอที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้
  • บูชคันเกียร์ชำรุด บูชเกียร์คืออุปกรณ์ที่ช่วยล็อกให้เกียร์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งหากบูชเกียร์มีลักษณะแตก หรือหลวม ก็จะทำให้เกิดปัญหาการเข้าเกียร์ยากได้

 

วิธีการแก้ไขปัญหาการเข้าเกียร์ได้ยาก

  • การแก้ไขและตรวจสอบระบบคลัตช์ การทำงานของระบบคลัตช์ น้ำมันในระบบนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากคือ ระดับน้ำมันในระบบ หากพบว่าไม่ได้ระดับที่กำหนดจะเพิ่มแรงเสียดทางทำให้คลัตช์ไม่สามารถส่งพลังงานให้เกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบเกียร์ทำงานผิดปกติได้ ดังนั้นหากตรวจพบว่าน้ำมันในระบบคลัตช์ต่ำเกินไปควรตรวจสอบว่ามีการรั่วซึมในระบบหรือไม่ หรือบางครั้งปัญหาการเข้าเกียร์ยากอาจเกิดมาจากระยะแป้นคลัตช์ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้คลัตช์ไม่ถูกปลดออกหรือปลดออกไม่เต็มที่ในขณะเปลี่ยนเกียร์นั่นเอง
  • การแก้ไขระดับน้ำมันเกียร์ น้ำมันเกียร์คือสารเคมีที่ช่วยให้ระบบเกียร์มีความหล่อลื่น สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การเข้าเกียร์ไม่ติดขัดหรือสะดุด แต่หากพบว่าน้ำมันเกียร์มีปัญหาจำเป็นต้องตรวจสอบว่าเกิดการรั่วซึมในบริเวณใดหรือไม่ เพื่อทำการแก้ไขและเติมน้ำมันให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ช่วยให้เกียร์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • การแก้ไขปัญหาท่อหายใจ ท่อหายใจของห้องเกียร์สามารถเกิดปัญหาได้เมื่อสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน ดังนั้นหากพบปัญหาการเข้าเกียร์ยากควรตรวจสอบด้วยว่าบริเวณท่อหายใจของห้องเกียร์นั้นว่ามีสิ่งสกปรกขัดขวางการทำงานอยู่หรือไม่เพื่อกำจัดออกให้หมด หรืออาจตรวจสอบว่าท่อหายใจอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อนออกจากห้องเกียร์ได้เช่นกัน
  • การดูแลรักษาระบบเกียร์ ภายในเกียร์นั้นมักมีองค์ประกอบชิ้นเล็ก ๆ รวมกันอยู่มากมาย ซึ่งองค์ประกอบแต่ละชิ้นนั้นต้องอยู่ในสภาพดี จึงจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อุปกรณ์หลายชิ้นสามารถเสื่อมสภาพได้อันเนื่องมาจากการใช้งาน ซึ่งจะต้องแก้ไขเปลี่ยนใหม่ให้เหมาะสม กรณีน้ำมันเกียร์ควรมีการเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง หรือทุก ๆ ระยะวิ่ง 20,000 กิโลเมตร
  • แก้ไขทันทีที่เกียร์ทำงานผิดปกติ ปัญหาของระบบเกียร์หลายครั้งอาจเล็กน้อยจนผู้ใช้งานไม่ทันสังเกต อาทิ เกิดเสียงในระหว่างการเข้าเกียร์ มีลักษณะสั่น หรือรู้สึกหลวมในขณะเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งปัญหาในลักษณะดังกล่าวหากเกิดขึ้น ผู้ขับขี่ไม่ควรปล่อยให้ชะล่าใจ แต่ควรดำเนินการแก้ไขทันที เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาบานปลายที่จะนำมาซึ่งอันตราย หรือความเสียหายที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้ในอนาคต

 

ปัญหาการเข้าเกียร์ยากถือเป็นปัญหาที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ควรเร่งแก้ไขทันที เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมทิศทางของรถ อันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้ นอกจากนี้การใช้งานระบบเกียร์อย่างถูกต้องยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของเกียร์ได้ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคลัตช์ในระหว่างเปลี่ยนเกียร์ หรือการเปลี่ยนเกียร์เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ตามกำหนด รวมถึงการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เมื่อครบจำนวนระยะทางที่เหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเกียร์ให้ดียิ่งขึ้น

 

อย่าพลาดโอกาสในการทดลองใช้งาน GPS ฟรี กับ คาร์เเทรค

ทดลองใช้ฟรี !

Related posts

อุปกรณ์เสริมรถ

อุปกรณ์เสริมรถ สุดฮิต 5 อย่าง ที่คนส่วนมากนิยมใช้กัน - คาร์แทรค

20 February 2019

5 อุปกรณ์เสริมรถที่คนส่วนมากนิยมใช้กัน


Read more
รถจอดนาน

รถจอดนาน เกินไป ไม่ค่อยได้ใช้ จะมีผลอย่างไรบ้าง - คาร์แทรค

13 February 2019

ปล่อยให้รถจอดนานเกินไป จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?


Read more
น้ำมันรถ

น้ำมันรถ จะมีวิธีเลือกยังไงให้เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ - คาร์แทรค

13 February 2019

การเลือกใช้น้ำมันรถให้เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ


Read more
กลัวการขับรถ

กลัวการขับรถ แก้ได้ด้วย 6 วิธีง่ายๆ ช่วยเสริมความมั่นใจให้คุณมากขึ้น - คาร์แทรค

28 January 2019

อาการกลัวการขับรถแก้ได้ด้วย 6 วิธีง่ายๆ ช่วยเสริมความมั่นใจให้คุณมากขึ้น


Read more

ขอใบเสนอราคาโทรเลย
(66) 2 136 2920

หรือ กรอกรายละเอียดของคุณเพื่อให้เราโทรกลับไป


บทความที่น่าสนใจ

  • อุปกรณ์เสริมรถ5 อุปกรณ์เสริมรถที่คนส่วนมากนิยมใช้กัน
    20 February 2019
  • รถจอดนานปล่อยให้รถจอดนานเกินไป จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?
    13 February 2019
  • น้ำมันรถการเลือกใช้น้ำมันรถให้เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ
    13 February 2019

แนะนำ

  • Transport Managementทำความรู้จักกับ Transport Management สิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจการขนส่ง
    13 February 2019
  • Cargo Truckประโยชน์ของการติด GPS ให้กับ Cargo Truck
    28 January 2019
  • รถเก่ารถเก่า สามารถติด GPS ได้หรือไม่
    15 January 2019

รับรองโดยกรมการขนส่งทางบก

จัดการกลุ่มยานพาหนะ

ตรวจวัดระดับน้ำมัน

บจก. คาร์แทรค เทคโนโลยี (ไทยแลนด์)
825 อาคารไพโรจน์กิจจา ชั้น 16 C
ถนนเทพรัตน บางนา กทม. 10260
โทรศัพท์ (66) 2 136 2920
Copyright All Rights Reserved © 2018
  • คำถามที่พบบ่อย
  • |
  • บทความและข่าวสาร
  • |
  • ติดต่อเรา
  • |
  • เกี่ยวกับบริษัท
  • |